เอื้องก้างปลา กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นห้อยลงเป็นสาย กลีบเลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม

เอื้องก้างปลา

ชื่ออื่นๆ : กล้วยน้ำไท (อุบลราชธานี)

ต้นกำเนิด : แหล่งที่พบ ตามป่าดิบเขา ป่าเต็งรัง ตามที่โล่งแจ้งแสงแดดจัดและแสงแดดรำไร

ชื่อสามัญ : เอื้องก้างปลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cleisostoma fuerrstenbergianum F. Kranzl.

ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE

ลักษณะของเอื้องก้างปลา

ลักษณะทั่วไป กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้น ห้อยลงเป็นสาย ยาว 40-60 ซม. ใบ รูปทรงกระบอกเรียวเหมือนลำต้น โค้ง ปลายแหลม กว้าง 0.8 ซม. ยาว 12-15 ซม. ดอก ออกเป็นช่อตามข้อ ช่อดอกห้อยลง ยาว 12-15 ซม. กลีบดอกรูปแถบ และกลีบเลี้ยงรูปขอบขนาน สีน้ำตาลเข้ม กลีบปากมีขนาดเล็กสีขาว เส้าเกสรสีเหลือง ฤดูออกดอก เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์

เอื้องก้างปลา
เอื้องก้างปลา ลำต้น ห้อยลงเป็นสาย
ดอกเอื้องก้างปลา
ดอกเอื้องก้าง กลีบเลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม กลีบปากมีขนาดเล็กสีขาว

การขยายพันธุ์ของเอื้องก้างปลา

ใช้ส่วนอื่นๆ/ขยายพันธุ์กล้วยไม้ โดยวิธีตัดแยก · การขยายพันธุ์กล้วยไม้ โดยการเพาะเนื้อเยื่อ

ธาตุอาหารหลักที่เอื้องก้างปลาต้องการ

ประโยชน์ของเอื้องก้างปลา

เป็นไม้ดอกไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของเอื้องก้างปลา

ใบผสมลูกใต้ใบทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้เบาหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของเอื้องก้างปลา

การแปรรูปของเอื้องก้างปลา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11318&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/

Add a Comment