เเสมทะเล
ชื่ออื่นๆ : ปีปีดำ (ภูเก็ต) แสมขาว, พีพีเล
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : เเสมทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Avicennia marina (Forssk) Vierh.
ชื่อวงศ์ : Avicenniaceae
ลักษณะของเเสมทะเล
ต้น เป็นไม้ขนาดเล็ก สูงประมาณ5 – 8 เมตร มีลักษณะเป็นพุ่ม ส่วนใหญ่มีสองลำต้นหรือมากกว่า ไม่มีพูพอน เรือนยอดโปร่ง มีรากหายใจคล้ายดินสอ ยาว 10 – 20 ซม.เหนือผิวดิน เปลือกเรียบเป็นมัน สีขาวปนเทาหรือขาวอมชมพู ต้นที่มีอายุมากเปือกจะหลุดออกมาเป็นเกล็ดบางบางคล้ายเเผ่นกระดาษ
ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม เเผ่นใบรูปรี หรือรูปหอกเเกมรูปไข่ ขนาด 1.5 – 4*3-12 ซม. ปลายใบมนถึงเเหลมเล็กน้อย ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียว ม้วนเข้าหากันหาทางด้านท้องใบ มีลักษณะคล้ายหลอดกลม ใบด้านบนสีเขียวเข้ม เป็นมัน ด้านท้องใบขาวอมเทา หรือขาวมีนวลก้านใบยาว0.4 – 1.4ซม.
ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง หรือง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง เป็นช่อเชิงลด ก้านช่อดอกยาว 1 – 5 ซมเเต่ละช่อมี8 – 14 ดอก ช่อดอกย่อยเป็นช่อกระจุก ก้านดอกยาว 0.5 – 1.5 ซม. ดอกย่อยไม่มีก้าน ดอกมีขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดคงทน กลีบดอก 4 กลีบ

การขยายพันธุ์ของเเสมทะเล
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่เเสมทะเลต้องการ
ประโยชน์ของเเสมทะเล
- ไม้นำมาสร้างบ้านเรือนเป็นชากกำบังพายุคลื่นทะเลเป็นเเหล่งอาหารเเละที่อยู่ของสัตว์น้ำ
- แก้ท้องร่วง สมานแผนในปาก แก้พิษจากสัตว์น้ำทุกชนิด โดยเฉพาะปลามีพิษจากทะเลทุกชนิด

สรรพคุณทางยาของเเสมทะเล
- ใบหรือราก แก้พิษปลาหรือสัตว์มีพิษในทะเลอื่นๆ ตำให้ละเอียดใช้พอกที่แผล หากเป็นพิษงูร้ายแรงตำผสมกับในเสลดพังพอน กระถินและหัวหอม โดยตำให้ละเอียดพอกที่แผลและละลายน้ำรับประทาน
- รากและต้น นำมาต้มรับประทานวันละ 2 ครั้ง รักษาโรคเบาหวาน สับให้ละเอียด ผสมกับกำแพงเจ็ดชั้น ใบต้นหูกวาง ต้นตายปลาย
คุณค่าทางโภชนาการของเเสมทะเล
การแปรรูปของเเสมทะเล
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9475&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
One Comment