แขนงพร้อย ใบอ่อน ต้มเป็นยาขับเสมหะ แก้เหน็บชา

แขนงพร้อย

ชื่ออื่นๆ :แขนงพร้อย, ค่างเต้น, ช้าขามป้อม (ประจวบคีรีขันธ์); เสียว (สระบุรี)

ต้นกำเนิด : ในไทยพบกระจายแทบทุกภาค ยกเว้นภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบชื้น ความสูงถึงประมาณ 400 เมตร

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus collinsiae Craib

ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae

ลักษณะของแขนงพร้อย

ต้น ไม้พุ่ม อาจสูงได้ถึง 6 ม. หูใบโคนเป็นติ่ง

ใบ ใบเรียงสลับระนาบเดียว รูปขอบขนานถึงรูปใบหอก ยาว 0.5–2.2 ซม. ปลายมนมีติ่งแหลม โคนเบี้ยว ก้านใบสั้นมาก

ดอก ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ก้านดอกยาว 2–4 มม. กลีบเลี้ยง 6 กลีบ รูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1 มม. จานฐานดอกเป็นต่อม 6 ต่อม เกสรเพศผู้ 4–6 อัน ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกัน ยาว 1.5–2 มม. ดอกเพศเมียก้านดอกยาว 3–4 มม. กลีบเลี้ยง 6 กลีบ รูปรีหรือรูปไข่ ยาว 1.5–2 มม. จานฐานดอกรูปเบาะ จักมน รังไข่ย่น ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก ยาวประมาณ 1 มม.

ผล ผลจัก 3 พู กลมแป้น ผิวย่น เส้นผ่านศูนย์กลาง 3–4 มม. มี 2 เมล็ดในแต่ละซีก รูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 มม.

แขนงพร้อย
แขนงพร้อย ใบเรียงสลับระนาบเดียว รูปขอบขนานถึงรูปใบหอก

การขยายพันธุ์ของแขนงพร้อย

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่แขนงพร้อยต้องการ

ประโยชน์ของแขนงพร้อย

สรรพคุณทางยาของแขนงพร้อย

  • ใบอ่อน ต้มเป็นยาขับเสมหะ แก้เหน็บชา
  • ราก แก้ไข้
  • ใบ เป็นยาระบาย
ดอกแขนงพร้อย
ดอกแขนงพร้อย ดอกสีขาว ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ

คุณค่าทางโภชนาการของแขนงพร้อย

การแปรรูปของแขนงพร้อย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9273&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th

Add a Comment