แคบ้าน
ชื่ออื่นๆ : แค แคแดง แคขาว
ต้นกำเนิด : พบทั่วไปทุกภาค
ชื่อสามัญ : แคบ้าน Cork Wood Tree, Vegetable Humming Bird Agatti
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesban Sebania grandiflora ( Desv. ) Linn.
ชื่อวงศ์ : Leguminosae – Papilionoideae
ลักษณะของแคบ้าน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-6 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ 2-4 ดอก ดอกสีขาวหรือแดง มีกลิ่นหอม ก้านเกสรเพศผู้สีขาว 60 อัน ผล เป็นฝัก ยาว 8-15 ซม. ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดกลมแป้น สีน้ำตาล มีหลายเมล็ด

การขยายพันธุ์ของแคบ้าน
ใช้เมล็ด/-
ธาตุอาหารหลักที่แคบ้านต้องการ
ประโยชน์ของแคบ้าน
ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ดอก ใบสด ยอดอ่อน
สรรพคุณ :
เปลือก
– ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว
– แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
– ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล
ดอก,ใบ
– รับประทานแก้ไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดู (แก้ไข้หัวลม)
ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้
ใบสด
– รับประทานใบแคทำให้ระบาย
– ใบแค ตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก
เมนูที่นิยมคือ แกงส้ม และต้มจิ้มน้ำพริก

สรรพคุณทางยาของแคบ้าน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
แก้มูกเลือด บิดมีตัว แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ
ใช้เปลือกต้นปิ้งไฟ 1 ส่วน ต้มกับน้ำหรือน้ำปูนใส 10 ส่วน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง
แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ไข้หัวลม (หรือไข้อากาศเปลี่ยน)
– ใบสด ต้มกับน้ำรับประทานลดไข้ ใช้ยอดอ่อนจำนวนไม่จำกัด ลวกจิ้มกับน้ำพริก รับประทานแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
– ใช้ดอกที่โตเต็มที่ล้างน้ำ ต้มกับหมูทำบะช่อ 1 ชาม รับประทาน 1 มื้อ รับประทานติดต่อกัน 3-7 วัน จะได้ผล
คุณค่าทางโภชนาการของแคบ้าน
การแปรรูปของแคบ้าน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12234&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com