คว่ำตายหงายเป็น
ชื่ออื่นๆ : ต้นตายใบเป็น, ต้นตายปลายเป็น, กระลำเพาะ, นิรพัตร, เบญจฉัตร, กะเร, มะตบ, ล็อบแล็บ, ลุบลับ,
ลุมลัง, ตาวาร (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) ประฉู่ชิคะ (ภาษากะเหรี่ยง) ค้ำ (อำเภอนาแห้ว) ปู่ย่า (อำเภอภูหลวง), ประเตียลเพลิง, เพรอะแพระ, ยาเท้า, ส้มเช้า, หญ้าปล่องไฟ, หญ้าหวาน (ภาษาไทใหญ่)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Chinese kale
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kalanchoe pinnata (Lam.) Pers., Bryophyllum pinnatum (Lam.) Oken
ชื่อวงศ์ : CRASSULACEAE
ลักษณะของคว่ำตายหงายเป็น
ต้น ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นตั้งตรง อวบน้ำ
ใบ ใบเดี่ยวหรือใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 5 ใบ รูปขอบขนาน แกมรูปไข่ หรือรีกว้าง ขอบใบหยักโค้งมน แต่ละรอยจักจะมีตาที่สามารถงอกรากและลำต้นใหม่ได้ เนื้อใบอวบหนา ตามขอบใบเป็นสีม่วง ก้านใบยาวค่อนข้างโอบลำต้น ก้านใบย่อยสั้น
ดอก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ลักษณะเป็นทรงกระบอก ห้อยลง กลีบดอกด้านล่างสีเขียว ด้านบนสีแดง
ผล ผลออกเป็นพวง มีเมล็ดขนาดเล็ก จำนวนมาก
การขยายพันธุ์ของคว่ำตายหงายเป็น
เพาะเมล็ด, ใช้ใบปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่คว่ำตายหงายเป็น ต้องการ
ประโยชน์ของคว่ำตายหงายเป็น
คว่ำตายหงายเป็นสมุนไพรไม้มงคลของพ่อหมอแม่หมอเมืองเลย หน้าบ้านจะต้องมีปลูกไว้ทุกบ้าน แถวอำเภอภูหลวงเรียกต้นปู่ย่า แต่แถวอำเภอนาแห้วเรียกต้นค้ำ ดอกคว่ำตายหงายเป็นจะนำไปไว้ในยุ้งข้าว บูชารถ ขึ้นบ้านใหม่เพื่อสิริมงคล ปกปักรักษา ป้องกันอันตราย ไม่ให้มีอุบัติเหตุเภทภัย
สรรพคุณทางยาของคว่ำตายหงายเป็น
- ใบเผาไฟเล็กน้อย หรือตำพอกแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ฝี ตาปลา
- ใบตำคั้นน้ำแก้บิด ขับปัสสาวะ โรคไขข้ออักเสบ
- ใบมีรสเย็นเฝื่อน พอกฝีแก้ปวด
- น้ำคั้นจากใบผสมการบูร ทาถูนวดแก้เคล็ดขัดยอก
วิธีและปริมาณที่ใช้
- รักษาบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยใช้ใบสด 10-15 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด นำไปย่างไฟเล็กน้อยหรือโขลกให้ละเอียด ทาและพอกบริเวณที่โดนไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกเช้า-เย็น
- แก้อาการท้องเดิน แก้บิด เป็นยาขับปัสสาวะ โดยใบสด 10-20 ใบ ล้างน้ำให้สะอาด โขลกให้ละเอียดคั้นเอาน้ำดื่ม
คุณค่าทางโภชนาการของคว่ำตายหงายเป็น
การแปรรูปของคว่ำตายหงายเป็น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11817&SystemType=BEDO
www.flickr.com
มีใครรู้จักบ้าง สมัยเด็กชอบนำใบมาใส่ในหนังสือ คว่ำลงใบตาย หงายใบมีรากงอก