แคแสด เปลือกใช้รักษาแผล โรคผิวหนังและแผลเรื้อรัง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา

แคแสด

ชื่ออื่นๆ : แคแดง (กทม., เชียงใหม่) ยามแดง (กทม.)

ต้นกำเนิด : แอฟริกาเขตร้อน เป็นไม้ประดับทั่วไปในเขตร้อน

ชื่อสามัญ : African tulip tree, Fire bell,  Fountain tree,  Syringe,  Flame of the forest

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spathodea campanulata P.Beauv.

ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE

ลักษณะของแคแสด

ต้น  เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 8-24 เมตร เรือนยอดทรงกลม หนาทึบ เปลือกต้นสีเทาอ่อน แตกเป็นร่องตามแนวยาว

ต้นแคแสด
ต้นแคแสด เปลือกต้นสีเทาอ่อน แตกเป็นร่องตามแนวยาว

ใบ  เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงสลับ ใบย่อยมี 3-6 คู่ รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 2.5-5.5 ซม. ยาว 4-12 ซม. มีขนเล็กน้อย ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบเรียบ

ใบแคแสด
ใบแคแสด ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีขนเล็กน้อย

ดอก  ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกตั้ง ก้านช่อดอกและก้านดอกมีขนสีน้ำตาล ดอกจำนวนมาก ดอกทยอยบานคราวละ 2-6 ดอก และร่วงง่าย ดอกสีแดงหรือสีแดงอมส้ม กลีบเลี้ยงหุ้มดอกตูมแยกออกเมื่อดอกบาน กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ขอบหยัก ย่น เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 10 ซม. ออกดอกตลอดปี ดอกดกเดือนตุลาคม -กุมภาพันธ์

ดอกแคแสด
ดอกแคแสด ดอกดอกสีแดงหรือสีแดงอมส้ม

ผล  เป็นฝักรูปเรือ สีดำ กว้าง 3.5-5 ซม. ยาว 15-20 ซม. ปลายแหลม ฝักแก่แตกออกด้านเดียว สีน้ำตาลเข้ม เมล็ด แบนขนาดเล็ก มีจำนวนมาก มีปีกบางล้อมรอบ

ผลแคแสด
ผลแคแสด ฝักรูปเรือปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของแคแสด

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่แคแสดต้องการ

ประโยชน์ของแคแสด

  • เมล็ดใช้เป็นสีย้อมผ้าฝ้ายให้สีแดง
  • ปลูกเป็นไม้ประดับ ภายนอกและให้ร่มเงา
  • นิยมปลูกตามสวนสาธารณะ สถานที่ราชการหรือริมทางทั่วไป เหมาะปลูกกลางแจ้ง นิยมปลูกริมทะเล
ดอกแคแสด
ดอกแคแสด ออกที่ปลายยอด ดอกสีแดงหรือสีแดงอมส้ม

สรรพคุณทางยาของแคแสด

  • เปลือก ใช้รักษาแผล โรคผิวหนังและแผลเรื้อรัง แก้บิด ใช้ต้มแก้ท้องผูก ชนิดพรรดึก และบำรุงธาตุ
  • เปลือกต้น, ใบ ใช้รักษาโรคเอดส์
  • ใบ, ดอก ใช้พอกแผล
  • ดอก ใช้รักษาแผลเรื้อรัง

คุณค่าทางโภชนาการของแคแสด

การแปรรูปของแคแสด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9985&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment