แดง เนื้อไม้ในเชิงอุตสาหกรรม เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตาก

แดง

ชื่ออื่นๆ : กร้อม (ชาวบน-นครราชสีมา) คว้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี, เชียงใหม่) ไคว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) จะลาน, จาลาน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) แดง (ทั่วไป) ตะกร้อม (ชอง-จันทบุรี) ปราน (ส่วย-สุรินทร์) ไปรน์ (เขมร-ศรีสะเกษ) ผ้าน (ละว้า-เชียงใหม่) เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก) เพร่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) สะกรอม (เขมร-จันทบุรี)

ต้นกำเนิด : ประเทศไทย

ชื่อสามัญ : แดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylia xylocarpa (Roxb.)

ชื่อวงศ์ : FABACEAE

ลักษณะของแดง

ต้น  ไม้ต้นขนากใหญ่ ผลัดใบ สูงได้ถึง 30 ม. มีขนตามกิ่งอ่อน แผ่นใบด้านล่าง และก้านช่อดอก หูใบรูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 3 มม. ลำต้นแดงค่อนข้างเปลาตรงหรือเป็นปุ่มปม ลักษณะของต้นเป็นทรงเรือนยอดรูปทรงกลมหรือเก้งก้างไม่ค่อยแน่นอน มีสีเขียวอมแดง เปลือกต้นเรียบสีเทาอมแดง มีตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ รอบลำต้น และเมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันที่มีสีแดง ส่วนยอดอ่อนมีขนสีเหลืองปกคลุมอยู่

ใบ  ใบเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ก้านใบยาว 2–7 เซนติเมตร ช่อใบยาว 10–22 เซนติเมตร แต่ละช่อมีใบย่อย 4–5 คู่ ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน แผ่นใบมักจะเบี้ยว มีขนาดไม่เท่ากัน กว้าง 3–7 เซนติเมตร ยาว 7–20 เซนติเมตร ปลายใบแหลมมน ฐานใบมักจะเบี้ยว ใบแก่ไม่มีขนปกคลุม หรืออาจจะมีขนประปรายด้านท้องใบเล็กน้อย ก้านใบย่อยยาว 2–4 มิลลิเมตร.

ดอก  ดอกสีเหลือง ขนาดเล็ก ขึ้นอัดกันแน่นบนช่อกลมเดี่ยว ๆ หรือแตกกิ่งก้าน หรือขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง แต่ละช่อประมาณ 1.4 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 2–5 เซนติเมตร มีขนปกคลุมประปราย กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันคล้ายรูประฆัง ตรงปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ มีขนสีเหลืองปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบติดกันเล็กน้อยที่บริเวณฐาน เกสรตัวผู้มี 10 อัน

ผล  ผลเป็นฝักโค้งคล้ายบูมเมอแรง ยาว 12–17 ซม. กว้าง 3.5–6 ซม. แห้งแตกอ้าออก มี 7–10 เมล็ด รูปรี แบน ๆ ยาวประมาณ 1 ซม.

ต้นแดง
ต้นแดง ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นเรียบ
ใบแดง
ใบแดง ใบประกอบสองชั้น ปลายใบแหลม

การขยายพันธุ์ของแดง

การเพาะเมล็ด

พบตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-500 เมตร

ธาตุอาหารหลักที่แดงต้องการ

สภาพดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ต้องการแสงแดด

ประโยชน์ของแดง

  • เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้านเรือน ไม้หมอนรถไฟ ด้ามเครื่องมือเกษตร
  • การใช้เนื้อไม้ในเชิงอุตสาหกรรมป่าไม้ ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ต่าง ๆ เนื้อไมีสีแดงเรื่อ ๆ หรือสีน้ำตาลอมแดง เสี้ยนเป็นลูกคลื่น หรือมักสน เนื้อละเอียดพอประมาณ มีความแข็งแรง
  • เป็นพืชเศรษฐกิจ
  • เปลือก ให้สีน้ำตาลให้ย้อมฝ้าย
  • แดงเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตาก โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
ดอกแดง
ดอกแดง ดอกสีเหลือง ขนาดเล็ก

สรรพคุณทางยาของแดง

  • เปลือกและแก่น ใช้บำรุงหัวใจ แก้ไข้ แก้ช้ำใน
  • ดอก  ใช้แก้ไข้
  • ทางภาคเหนือใช้เคี้ยวกับหมาก หรือขูดใส่ลาบช่วยให้เนื้อแน่น

คุณค่าทางโภชนาการของแดง

การแปรรูปของแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11833&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment