โกงกางใบเล็ก ไม้ต้นขนาดใหญ่ มีรากเสริมออกมาเหนือโคนต้น

โกงกางใบเล็ก

ชื่ออื่นๆ : โกงกาง (ระนอง) พังกาใบเล็ก (พังงา) พังกาทราย (กระบี่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhizophora apiculata BIume

ชื่อพ้อง : R. candelaria DC.

ชื่อวงศ์ : RHIZOPHORACEAE

ลักษณะของโกงกางใบเล็ก

ต้น เป็นไม้ไม่ผลัดใบขนาดกลาง-ใหญ่ สูง 20-40 เปลือกสีเทาดำผิวเปลือกเรียบแตกเป็นร่องเล็กตามยาวของลำต้น เด่นชัดกว่าร่องตามขวาง เมื่อทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่จะพบว่าด้านในของเปลือกเป็น สีแสดอมแดง เรือนยอดแคบรูปพีระมิด รอบๆบริเวณโคนต้นมีรากค้ำจุน ทำหน้าที่พยุงลำต้น และมักมีรากอากาศซึ่งเกิดจากกิ่งตอนบนเป็นจำนวนมาก

ใบ  ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบคู่ล่างๆ จะร่วงไปเหลือแต่คู่ใบ 2-4 คู่ เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปรี แผ่นใบหนา หูใบแคบ ปลายแหลมยาวประกบกันเป็นคู่ระหว่างคู่ใบ

ดอก  ช่อดอกสั้นมาก ออกตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ดอกตูมรูปไข่ ใบประดับที่ฐานดอกติดกันคล้ายรูปถ้วย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่าย

ผล  ผลคล้ายรูปไข่กลับสีน้ำตาลคล้ำ ผิวค่อนข้างขรุขระ ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียวโค้งเล็กน้อย มีขนาดโตขึ้นที่ส่วนปลาย ผิวเป็นมัน สีเขียวหรือเขียวอมม่วง ค่อนข้างเรียบหรือมีตุ่มขรุขระกระจัดกระจาย

โกงกางใบเล็ก
โกงกางใบเล็ก ใบรูปรี แผ่นใบหนา

การขยายพันธุ์ของโกงกางใบเล็ก

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่โกงกางใบเล็กต้องการ

ประโยชน์ของโกงกางใบเล็ก

  • ใช้ทำเสาและหลักในที่น้ำทะเลขึ้นถึง มีความทนทาน
  • ใช้ทำกลอนหลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้านตามชายทะเล
  • ใช้ทำถ่าน
  • เปลือกให้น้ำฝาดประเภท catechol ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ฯลฯ

สรรพคุณทางยาของโกงกางใบเล็ก

  • น้ำจากเปลือกใช้ชะล้างแผล ห้ามเลือด แก้ท้องร่วง แก้บิด
  • ใบของโกงกางเป็นสมุนไพร ไว้คลาดร้อน เครียด ปวดท้องรุนแรง แต่ควรต้มก่อน สามารถรวมกับอย่างอื่นเพื่อเปลี่ยนรสชาติได้

คุณค่าทางโภชนาการของโกงกางใบเล็ก

การแปรรูปของโกงกางใบเล็ก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9479&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment