โกงกางใบใหญ่
ชื่ออื่นๆ : กงกอน (เพชรบุรี, ชุมพร), โกงกางนอก กงกางนอก (เพชรบุรี), กงเกง (นครปฐม), กางเกง พังกา พังกาใบใหญ่ (ภาคใต้), โกงกางใบใหญ่ (ภาคใต้), ลาน (กระบี่)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Red Mangrove
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhizophora mucronata Poir.
ชื่อวงศ์ : : RHIZOPHORACEAE
ลักษณะของโกงกางใบใหญ่
ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ มีรากเสริมออกมาเหนือโคนต้น รากค้ำยันแตกแขนงระเกะระกะ เรือนยอดรูปกรวยคว่ำแคบๆ
ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบคู่ล่างๆ จะหลุดร่วงไปเหลือกลุ่มใบที่ปลายกิ่ง ใบรูปรีถึงรีกว้าง มีติ่งแหลมเล็ก แข็ง สีดำ ที่ปลายใบ แผ่นใบหนา มีจุดเล็กๆ สีดำกระจัดกระจายทั่วไปทางด้านล่าง
ดอก ช่อดอกออกตามง่ามใบที่ใบติดอยู่หรือร่วงไป ดอกตูมรูปไข่ มีใบประดับรองรับที่ฐานดอก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่าย
ผล ผลคล้ายรูปไข่ปลายคอดสีน้ำตาลอมเขียว ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียว ค่อนข้างตรง ปลายเรียวแหลมยาว ผิวเป็นมัน สีเขียว มีตุ่มขรุขระทั่วไป
การขยายพันธุ์ของโกงกางใบใหญ่
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่โกงกางใบใหญ่ต้องการ
ประโยชน์ของโกงกางใบใหญ่
ลำต้น ใช้ทำเสาและหลักในที่น้ำทะเลขึ้นถึง มีความทนทาน ใช้ทำกลอนหลังคาจาก รอด ตง อกไก่ของบ้านตามชายทะเล ใช้ทำถ่าน เปลือกให้น้ำฝาดประเภท catechol ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ฯลฯ
สรรพคุณทางยาของโกงกางใบใหญ่
น้ำจากเปลือกใช้ชะล้างแผล ห้ามเลือด กินแก้ท้องร่วง แก้บิด
คุณค่าทางโภชนาการของโกงกางใบใหญ่
การแปรรูปของโกงกางใบใหญ่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9679&SystemType=BEDO
www.flickr.com