โกฐพุงปลา ไม้เถาเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น ดอกเล็กรูปโคม สีเขียวแกมเหลือง

โกฐพุงปลา

ชื่ออื่นๆ : โกฐพุงปลา (กลาง), กล้วยไม้ (เหนือ), เถาพุงปลา (ระนอง, ตะวันออก) นมตำไร (เขมร), บวบลม (นครราชสีมา, อุบลราชธานี)

ต้นกำเนิด : พบตามป่าทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dischidia rafflesiana Wall.

ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะของโกฐพุงปลา

ต้น  ไม้เถาเลื้อยเกาะพันต้นไม้อื่น มีรากตามลำต้นส่วนต่างๆ ของเถามีนํ้ายางสีขาวเหมือนน้ำนม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบหนาอวบน้ำ รูปค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 -2 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เนื่องจากถูกมดเจาะ เข้าอาศัยทำให้มีลักษณะโป่งเป็นถุง ยาว 5-10 ซม. กว้าง 3-5 ซม. ก้านใบสั้น
ดอก ดอกเล็กรูปโคม สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นกระจุกหรือเป็น ช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ออกดอกเดือน มี.ค.-พ.ค.
ผล เป็นฝัก เรียวยาว 5-7.5 ซม. กว้าง 3-5 มม. เมล็ด เล็ก แบน มีขนเป็นพุ่มที่ปลาย

โกฐพุงปลา
โกฐพุงปลา ดอกเล็กรูปโคม สีเขียวแกมเหลือง

การขยายพันธุ์ของโกฐพุงปลา

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่โกฐพุงปลาต้องการ

ประโยชน์ของโกฐพุงปลา

ใบอ่อน รับประทานกับขนมจีน

สรรพคุณทางยาของโกฐพุงปลา

  • รากแก้ท้องเสีย แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง แก้หอบหืด
  • ต้น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดท้องเนื่องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

คุณค่าทางโภชนาการของโกฐพุงปลา

การแปรรูปของโกฐพุงปลา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11643&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment