โกฐเขมา เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ

โกฐเขมา

ชื่ออื่นๆ : โกฐเขมา [โกด-ขะ-เหมา]  โกฐหอม (ไทย) , ซังตุ๊ก (จีนแต้จิ๋ว) , ซางจู๋ (จีนกลาง)

ต้นกำเนิด : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีนและแมนจูเรีย

ชื่อสามัญ : Atractylodes

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atractylodes lancea (Thunb.) DC.

ชื่อวงศ์ : Compositae

ลักษณะของโกฐเขมา

ต้น เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีขนคล้ายใยแมงมุมเล็กน้อยหรือไม่มี เหง้าทอดนอนหรือตั้งขึ้น ผิวมีลักษณะขรุขระ เป็นปุ่มปม เปลือกนอกคล้ายผิวมะกรูด มีสีน้ำตาลอมเทา สีน้ำตาลเข้ม หรือสีน้ำตาลแกมดำ มีรอยย่นและรอยบิดตามขวาง เนื้อในแน่น เมื่อฝานหัวออกใหม่จะเป็นสีขาวขุ่นที่เนื้อใน และมีแต้มสีแสดของชันน้ำมันอยู่ประปรายทั่วไป มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสหวานอมขมเล็กน้อย และเผ็ดร้อน

ใบ ใบเดี่ยว บางเหมือนกระดาษ ไม่มีขน ใบใกล้โดนต้นรูปไข่ ขอบเรียบหรือหยักแบบขนนก 3-5 แฉก แฉกข้างรูปรีหรือรูปไข่กลับแกมรี แฉกปลายรูปกลม รูปไข่กลับ รูปไข่ หรือรูปรี ก้านใบสั้น ใบบริเวณกลางต้นรูปไข่กลับ รูปไข่กลับแกมรี รูปรีแคบ หรือรูปใบหอกกลับ

ดอก ออกเดี่ยวหรือหลายช่อ ตามปลายกิ่ง  ดอกช่อ สีขาว

ผล ผลแห้ง เมล็ดล่อน

โกฐเขมา
โกฐเขมา ดอกสีขาว ขอบใบหยัก

 

เหง้าโกฐเขมา
เหง้าโกฐเขมาแห้ง ใช้เป็นส่วนผสมของยาสมุนไพร

การขยายพันธุ์ของโกฐเขมา

การใช้เหง้า

ธาตุอาหารหลักที่โกฐเขมาต้องการ

ประโยชน์ของโกฐเขมา

ประโยชน์และสรรพคุณใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง เป็นยาเจริญอาหาร เป็นต้น

สรรพคุณทางยาของโกฐเขม

ส่วนที่ใช้ทํายา

เหง้า อาจมีทั้งลักษณะค่อนข้างกลม ยาว หรืออาจมีแฉกแยกออกไปบ้าง เปลือกนอกเป็นปุ่มปมคล้ายผิวมะกรูดสีนํ้าตาลแกมดํา มีรอยย่นและรอยบิดตามขวาง มีกลิ่นหอม เนื้อแน่น เมื่อฝานหัวออกใหม่ๆ จะเห็นเนื้อในสีขาวขุ่นและมีแต้มสีแสดของชันนํ้ามันอยู่ประปรายทั่วไปหากนํามาดองเหล้าจะให้ยาดองสีเหลือ

การเตรียมโกฐเขมาเพื่อใช้เข้ายาทําได้ 3 วิธี ดังนี้

  1. ตากแห้ง โดยแช่เหง้าโกฐเขมาในนํ้าสักครู่ เพื่อให้นุ่มลง แล้วหั่นเป็นแว่นหนาๆ นําไปตากให้แห้ง จะได้ตัวยารสชาติเผ็ดขม อุ่น
    สรรพคุณ : ขับความชื้น เสริมระบบการย่อยอาหารแก้ความชื้นกระทบส่วนกลาง (จุกเสียด อึดอัดลิ้นปี่ อาเจียนเบื่ออาหาร ท้องเสีย) แก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการไข้หวัดจากลมเย็นหรือความชื้น (จับไข้ หนาว ๆ ร้อน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว)
  2. ผัดรําข้าวสาลี โดยนํารําข้าวสาลีใส่ลงในกะทะตั้งไฟปานกลางจนควันขึ้น แล้วนําเหง้าโกฐเขมาตากแห้งใส่ลงไป คนอย่างรวดเร็วจนกระทั่งผิวของตัวยาเป็นสีเหลืองเข้ม นําออกจากเตา แล้วร่อนเอารําข้าวสาลีออก ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น จะทําให้ความเผ็ดลดลง แต่เนื้อยาจะนุ่มนวลขึ้น และมีกลิ่นหอม
    สรรพคุณ : ช่วยรักษาอาการของม้ามและกระเพาะอาหารทํางานไม่สัมพันธ์กัน (กระเพาะอาหารทําหน้าที่ย่อยอาหารจนได้สารจําเป็น ส่วนม้ามทําหน้าที่ลําเลียงสารจําเป็นนี้ไปใช้ทั่วร่างกาย) แก้เสมหะเหนียวหนืด แก้ต้อหิน แก้ตาบอดกลางคืน
  3. ผัดเกรียม โดยนําเหง้าโกฐเขมาตากแห้งใส่กระทะ ผัดโดยใช้ไฟปานกลาง จนกระทั่งผิวนอกมีสีนํ้าตาลไหม้ พรมนํ้าเล็กน้อย แล้วผัดต่อโดยใช้ไฟอ่อนๆ จนตัวยาแห้ง นําออกจากเตา ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วร่อนเอาเศษเล็กๆ จะได้ตัวยารสออกเผ็ด
    สรรพคุณ : ช่วยให้การทํางานของลําไส้แข็งแรง แก้ท้องเสียเป็นหลัก ใช้รักษาอาการท้องเสียเนื่องจากม้ามพร่อง โรบิดเรื้อรั

สรรพคุณทางยาจีน
ใช้เป็นส่วนผสมในยาจีนหลายขนาน เช่น ตํารายาจีนแก้ท้องเสียท้องร่วง แก้อาการบวม แก้ปวดข้อเนื่องจากข้ออักเสบ แก้หวัด และตาบอดกลางคืน

สรรพคุณทางยาไท
ตามตํารายาไทย โกฐเขมาจัดเป็นโกฐชนิดหนึ่งในพิกัดยาไทยที่เรียกว่า โกฐทั้งห้า โกฐทั้งเจ็ด และโกฐทั้งเก้า มีกลิ่นหอม รสร่อน ใช้เป็นยาบํารุงธาตุ บํารุงกําลัง แก้โรคเข่าข้อทั้งยังเป็นยาเจริญอาหาร ขับปัสสาวะ แก้โรคในปาก ในคอ แกหวัดคัดจมูก แก้ไข้ แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง และสามารถออกฤทธิ์ระงับอาการหอบ ได้ผลคล้ายยาอีเฟรดริ

นอกจากนี้ จากรายการยากลุ่มที่ 1 (ยาแผนไทยหรือยาแผนโบราณ) ของบัญชียาจากสมุนไพรในบัญชียหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2555 ยังมียาตํารับต่างๆ ซึ่งใช้โกฐเขมาเป็นส่วนประกอบ รวมอยู่หลายรายการ ดังนี้

  1. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้โรคลม) ได้แก่ตํารับ ยาหอมเทพจิตร และ ยาหอมนวโกฐ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง โดยโกเขมาเป็น 1 ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆในตํำรับ
  2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบอาหาร ได้แก่ตํารับ ยาธาตุบรรจบ มีส่วนประกอบของโกฐเขมาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตํารับ ใช้บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาการอุจจาระธาตุพิการ และท้องเสียชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

คุณค่าทางโภชนาการของโกฐเขมา

การแปรรูปของโกฐเขมา

โกฐเขมา เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ และได้มีการนำ มาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โกฐเขมาจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ) โกฐทั้งเจ็ด(สัตตโกฐ) และโกฐทั้งเก้า(เนาวโกฐ) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th
https:// th.wikipedia.org
https:// mlm.mju.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment