โกฐเชียง ไม้ล้มลุกอายุหลายปี รากมีสรรพคุณทางยา

โกฐเชียง

ชื่ออื่นๆ : โกฐเชียง, ตังกุย, โสมตังกุย

ต้นกำเนิด : ประเทศจีน

ชื่อสามัญ :  Dong quai , Chinensis Angelica , Eemale ginseng

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Angelica sinensis (Oliv.) Diels

ชื่อวงศ์ : APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE

ลักษณะของโกฐเชียง

ต้น  เป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุหลายปีลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีร่องเล็กน้อย เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมม่วง ส่วนของเหง้าหรือรากที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะอวบหนาเป็นรูปทรงกระบอก แยกเป็นรากแขนงหลายราก ผิวเปลือกรากภายนอกเป็นสีน้ำตาล เนื้อในนิ่ม

ใบ   ใบเป็นใบเดี่ยวหยักลึกคล้ายของขนนก ลักษณะเป็นรูปไข่ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยไม่สม่ำเสมอ มีก้านใบยาวประมาณ 5-20 เซนติเมตร โคนแผ่เป็นครีบแคบ ๆ สีเขียวอมม่วง

ดอก  ออกดอกเป็นช่อบริเวณยอดของลำต้นหรือตามง่ามใบ ช่อดอกมีลักษณะเป็นช่อแบบซี่ร่มเชิงประกอบ มีช่อย่อยขนาดไม่เท่ากันประมาณ 10-30 ช่อย่อย ก้านช่อดอกนั้นยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ใบประดับมีไม่เกิน 2 ใบ ดอกเป็นสีขาวหรือเป็นสีแดงอมม่วง

ผล  ผลเป็นแบบผลแห้งแยก มีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 4-6 มิลลิเมตร สันด้านล่างหนาแคบ ด้านข้างมีปีกบาง ขนาดกว้างเท่ากับความกว้างของผล และมีท่อน้ำมันตามร่อง

โกฐเชียง
โกฐเชียง ไม้ล้มลุก ลำต้นสีน้ำตาลอมม่วง

การขยายพันธุ์ของโกฐเชียง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่โกฐเชียงต้องการ

ประโยชน์ของโกฐเชียง

นิยมบริโภคต้นสด

สรรพคุณทางยาของโกฐเชียง

ส่วนที่ใช้  เหง้าหรือราก

ตำรายาไทย: ใช้แก้ไข้ แก้สะอึก แก้ไอ แก้หอบ แก้เสียดแทงสองราวข้าง รักษาความผิดปกติของประจำเดือน ปวดประจำเดือน ใช้รักษาอาการปวดท้อง ปวดข้อ และอาการปวดหลังจากการผ่าตัด แก้ท้องผูก ตับอักเสบเรื้อรัง บำรุงโลหิต กระจายโลหิต จีนนิยมใช้โกฐเชียงมาก “รากแก้วส่วนบน” จีนเรียก “ตังกุยเท้า” ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ส่วนรากแขนงนั้นจีนเรียก (ตัง)กุยบ๊วย ใช้เป็นยาขับระดู แพทย์แผนจีนใช้เครื่องยาชนิดนี้ในยาเกี่ยวกับโรคเฉพาะสตรี เช่น อาการปวดเอว ประจำเดือนผิดปกติ ภาวะขาดประจำเดือน เช่น อาการร้อนวูบวาบ เป็นยาขับประจำเดือน แก้รกตีขึ้น แก้ไข้บนกระดานไฟ เกี่ยวกับอาการเลือดออกทุกชนิด แก้หวัด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ตกมูกเลือด สตรีจีนนิยมใช้โกฐเชียงเป็นยากระตุ้นอวัยวะเพศ เพื่อให้ปรนนิบัติสามีได้ดีและเพื่อให้มีลูกดก ใช้ในภาวะขาดน้ำ ความผิดปกติของเส้นประสาท

ดอกโกฐเชียง
ดอกโกฐเชียง ดอกสีขาว เป็นช่อแบบซี่ร่มเชิงประกอบ

คุณค่าทางโภชนาการของโกฐเชียง

การแปรรูปของโกฐเชียง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11891&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment