โคคลาน ผล จะมีสารพิโครท๊อกวิน ( Picrotoxin ) มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง

โคคลาน

ชื่ออื่นๆ : ขมิ้นเครือ (บางภาคเรียก), โคคลาน (ตามตำรายาไทย)

ต้นกำเนิด : แถบป่าจังหวัดปราจีนบุรี

ชื่อสามัญ : Cocculus, indian Berry, Fishberry , Cocculus Indicus

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anamirta cocculus (Linne) Wight et Arnolt

ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE

ลักษณะของโคคลาน

ต้น : เป็นพรรณไม้เถา ลักษณะของเถานั้นจะกลม และโตเท่าขาของคนเรา หรือขนาดใหญ่จะโตเท่าต้นหมาก ก็มีเถานั้นจะยาวและเลื้อยพันขึ้นไปตามต้นไม้หรือตามพื้นดิน เถาอ่อนหรือกิ่งของเถาอ่อน นั้นจะมีหนาม สีผิวของเถาจะเป็นสีดำแดงคร่ำและจะแตกเป็นร่องระแหง

ใบ : ใบจะมีลักษณะเป็นรูป 3 เหลี่ยมหน้าจั่ว ตรงปลายใบของมันจะแหลม ใบนั้นจะมีความยาวประมาณ 7-10 ซม ก้านใบจะยาวประมาณ 2.4-7 ซม.

เมล็ด (ผล) : ผลถ้าแก่เต็มที่จะมีสีแดง ส่วนเมล็ดนั้นจะมีลักษณะเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว เมล็ดจะมีรสขมมากมักจะใช้ เบื่อปลา

พรรณไม้มักจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติในป่า ตามพื้นที่ราบจะมีผู้นำมาปลูกตามบ้านและตามสวนบางแห่ง ในจังหวัดพระนครและธนบุรี เพื่อประโยชน์สำหรับนำมาใช้ในการทำยา

โคคลาน
โคคลาน ไม้เถา ใบเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ปลายใบแหลม

การขยายพันธุ์ของโคคลาน

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่โคคลานต้องการ

ประโยชน์ของโคคลาน

สรรพคุณทางยาของโคคลาน

สรรพคุณ : ผล จะมีสารพิโครท๊อกวิน ( Picrotoxin ) จะมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ใช้เป็นยารักษาพิษในคนที่กินยานอนหลับจำพวกบาร์บิทุเรต ( Barbiturate ) กินเกินขนาดหรือใช้ฉีดเข้าเส้นเลือดในขนาด ปริมาณ 2 มิลลิกรัม ผลและเมล็ด ใช้เป็นส่วนผสมในขี้ผึ้ง เพื่อเป็นการบำบัดโรคผิวหนังเช่น โรคคันที่เกิดตามคอและหนัง ศรีษะซึ่งจะติดมาจากร้านตัดผม ( Barber is itch )

ผลโคคลาน
ผลโคคลาน ผลดิบสีเขียว ผลแก่สีแดง

คุณค่าทางโภชนาการของโคคลาน

การแปรรูปของโคคลาน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11251&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment