โปรงแดง ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง ขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลน

โปรงแดง

ชื่ออื่นๆ : โปรง, โปรงใหญ่, ปรง (สมุทรสาคร, จันทบุรี) แสม (ใต้), ปุโรงแดง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : โปรงแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ceriops tagal (Perr.) C. B. Rob.

ชื่อวงศ์ : PHIZOPHORACEAE

ลักษณะของโปรงแดง

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก – กลาง สูง 7-15 เมตร โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อยมีรากค้ำจุนขนาดเล็กรากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนกลม ยาว 12-20 ซม. เหนือผิวดิน สีน้ำตาลอมชมพู เรือนยอดเป็นกลุ่มกลม สีเข้ม กิ่งสีเขียว มีช่องอากาศเล็กๆ เปลือกสีชมพูเรื่อ ๆ หรือน้ำตาลอ่อน เรียบถึงแตกเป็นสะเก็ด ต้นแก่มีรอยแผลเป็น ช่องอากาศ เห็นเด่นชัดสีน้ำอ่อน ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สลับทิศทาง เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบชี้ไปทางปลายกิ่ง รูปไข่กลับแกมขอบขนานถึงรูปไข่กลับ ขนาด 3-8 x 5-12 ซม. ปลายใบป้านมน หรือเว้าตื้น ๆ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบหยักเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบซีด ก้านใบยาว 1.5-4 ซม. หูใบยาว 1-3 ซม. ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบ แต่ละช่อมี 4-8 ดอก ก้านช่อดอกเรียว ยาว 1-1.5 ซม. ก้านดอกย่อยสั้น วงกลีบเลี้ยงยาว0.5-0.7 ซม.กลีบเลี้ยงหยักลึก 5 กลีบรูปไข่ ยาว 0.4-0.5 ซม. แผ่บานออก ปลายโค้งเข้าหาผลใบประดับ เชื่อมติดกัน ที่โคนหลอดกลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน สีขาว ผล ลุกแพร์กลับ ยาว 1-3 ซม. สีเขียวถึงน้ำตาลแกมเขียว เป็นผลแบบงอก ตังแต่ยังติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ ฝัก รูปทรงกระบอก ขนาด 0.5-0.8 x 15-35 ซม. ปลายเล็กขยายใหญ่ ไปทางส่วนโค้งแล้ว สอบแหลม มีสันแหลมตามยาว ผิวขรุขระ สีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ห้อยลงในแนวดิ่ง ออกดอกและผลเกือบตลอดปี

ต้นโปรงแดง
ต้นโปรงแดง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นกลุ่มกลม

การขยายพันธุ์ของโปรงแดง

ขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลน ตามริมชายฝั่งแม่น้ำ ที่น้ำท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ และดินมีการระบายน้ำดี

ธาตุอาหารหลักที่โปรงแดงต้องการ

ประโยชน์ของโปรงแดง

ลำต้นใช้ทำฟืน เผาถ่าน ทำที่อยู่อาศัย เครื่องมือประมง

สรรพคุณทางยาของโปรงแดง

ห้ามเลือด รักษาแผลสด แก้ท้องร่วง คลื่นเหียน อาเจียน อาการโรคบิด รักษางูสวัด เริม แก้น้ำกัดเท้า แผลพุพอง

วิธีการปรุงยา :
เปลือก ต้มเป็นยาหม้อดื่ม
เปลือก ตำให้ละเอียดพอกแผลห้ามเลือด
เปลือก นำมาฝนกับหินลับมีดแล้วผสมกับน้ำข้าว ทาในบริเวณที่เป็น รักษางูสวัด หรือเริม
เปลือก ต้มกับน้ำใช้ชะล้างบาดแผล หรือเอาเท้าแช่น้ำ แก้น้ำกัดเท้า แผลพุพอง
เปลือก ใช้ต้มไว้ชะล้างบาดแผล และใช้ย้อมแห อวน

ใบโปรงแดง
ใบโปรงแดง ปลายใบป้านมน ใบมักเป็นคลื่นผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มท้องใบซีด

คุณค่าทางโภชนาการของโปรงแดง

การแปรรูปของโปรงแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9461&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment