โมก
ชื่ออื่นๆ : ปิดจงวา (เขมร สุรินทร์) โมกซ้อน (กลาง) โมกบ้าน (กลาง) หลักป่า (ระยอง)
ต้นกำเนิด : ประเทศไทย
ชื่อสามัญ : Moke
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia religiosa
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ลักษณะของโมก
ต้น เป็นไม้พรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-12 เมตร ผิวเปลือกสีน้ำตาลดำ ลำต้นกลมเรียบมีจุดเล็กๆ สีขาวประทั่วต้นแตกกิ่งก้านสาขาออกรอบลำต้น
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงกันเป็นคู่ตามก้านใบลักษณะใบเป็นรูปไข่ รี ปลายใบมนแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบางสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร
ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีดอก 4-8 ดอก ลักษณะดอกจะคว่ำลงสู่พื้นดิน มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีขาวกลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่มีขนาด ประมาณ 2 เซนติเมตร
ผล ผลเป็นรูปทรงกระบอกออกมาเป็นคู่ ลักษณะโค้งงอเข้าหากัน ภายในมีเมล็ดเรียงอยู่เป็นจำนวนมาก ขนาดความยาวของผลประมาณ 10-15 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ของโมก
การตอน การเพาะเมล็ด การปักชำ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด การปักชำ
การปลูก
1.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ย
หมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้ เพื่อประดับบริเวณหน้าบ้าน
2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก :
ขุยมะพร้าว:ดินร่วนอัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางบ้างแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มเพราะการ
เจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินเดิมที่เหสื่อมสภาพไป
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย มีความชื้นปานกลาง
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
ธาตุอาหารหลักที่โมกต้องการ
ประโยชน์ของโมก
- เนื้อไม้ เป็นไม้เนื้อแข็ง นิยมใช้ทำเครื่องเรือน และเครื่องแกะสลักเป็นต้น
- ยาง นำมาปรับปรุงเป็นยาแก้โรคบิด ใช้แก้พิษงู หรือทาแมลงกัดต่อย
ต้นโมก คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโมกไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความสุขความบริสุทธิ์เพราะโมกหรือโมกขหมายถึงผู้ที่หลุดพ้นด้วยทุกข์ทั้งปวง สำหรับส่วนของดอกก็มีลักษณะ สีขาว สะอาด มีกลิ่นหอมสดชื่นตลอดวัน นอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองปกป้องภัยอันตรายเพราะต้นโมกบางคนเรียกว่าต้นพุทธรักษาดังนั้นเชื่อว่าต้นโมกสามารถคุ้มกันรักษาความปลอดภัยทั้งปวงจากภายนอกได้เช่นกัน และยังเชื่ออีกว่าส่วนของเปลือกต้นโมกสามารถใช้ป้องกันอิทธิฤทธิ์ของพิษสัตว์ต่างๆ ได้
สรรพคุณทางยาของโมก
- เปลือกเป็นยาช่วยทำให้เจริญอาหาร
- ยางจากต้นใช้เป็นยาแก้โรคบิดที่มีอาการเลือดออก
- ดอกเป็นยาระบาย
- เปลือกช่วยรักษาโรคไต
- ใบใช้ขับน้ำเหลือง
- ยางใช้เป็นยาแก้พิษงูและแมลงกัดต่อย
- รากมีรสเมามัน ใช้ปรุงเป็นยารักษาโรคผิวหนังจำพวกโรคเรื้อนและคุดทะราด
คุณค่าทางโภชนาการของโมก
การแปรรูปของโมก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9380&SystemType=BEDO
www.dpf.mod.go.th
www.flickr.com