ผักกาดเขียวปลี เป็นผักอายุปีเดียว ในการปลูกเกษตรกรก็จะพบกับโรคและแมลงศัตรูพืช ที่มักพบกันมาก วันนี้เกษตรตตำบลมีวิธีการป้องกันกำจัด โรคและแมงศัตรูที่สำคัญของผักกาดเขียวปลีมาฝากกันค่ะ
โรคของผักกาดเขียวปลีที่สำคัญมีดังนี้
1. โรคเน่าคอดิน
สาเหตุเกิด จากเชื้อรา
ลักษณะอาการ ส่วนโคนต้นกล้าที่อยู่ระดับดินจะมีลักษณะเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลจากแปลง ผักชื้นแฉะอยู่เสมอ หรือต้นพืชหนาแน่นจนเกินไป อากาศถ่ายเทไม่สะดวก จะทําให้พืชตายอย่างรวดเร็วเป็นหย่อมๆ ยอดจะแห้งคล้ายกับถูกน้ำร้อนลวก ในสภาพที่มีอากาศเย็น และมีความชื้น สูงอาจพบเส้นใยสีขาว คล้ายปุยสําลีของเชื้อราขึ้นคลุมบริเวณที่เกิดโรค
การป้องกันกําจัด
- คลุกเมล็ดก่อนนําไปปลูกด้วยยาป้องกันกําจัดเชื้อรา
- อย่าเพาะกล้าหนาแน่นเกินไป ควรถอนกล้าออกบ้าง เพื่อให้อาการถ่ายเทได้ดี
- ระวังเรื่องความชื้น อย่าให้น้ำมากโดยไม่จำเป็น
- เลือกแปลงปลูกที่ไม่เคยเป็นโรคมาก้อน
2. โรคเน่าเละ
สาเหตุเกิดจาก เชื้อรา
ลักษณะอาการ อาการเริ่มแรกจะปรากฎเป็นจุดสีคล้ำฉ่ำน้ำใส่ๆ ตรงบริเวณแผลที่เชื้อเข้า ทําลายต่อมาบริเวณเน่าจะขยายลุกลามไปเรื่อยๆ สีเหลืองอ่อน เนื้อเยื่อ บริเวณแผลยุบตัวลง แผลเปียกเป็นเมือกเยิ้มมีกลิ่นเหม็น
การป้องกันกําจัด
- ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผล หรือรอยซ้ำขณะเก็บเกี่ยวและขนส่ง
- แปลงปลูกให้มีการระบายน้ำดี
- อย่าให้นามากเกินไป
3. โรคโอกึนหรือโอเก็ง
สาเหตุ ขาดธาตุโบรอน
ลักษณะอาการ พืชจะแคระแกรน มีรอยแตกขึ้นตามผิวของส่วนต่างๆ เช่น ลําต้น ก้านใบ
การป้องกันกําจัด ให้ธาตุอาหารพวกโบรอนลงไปในดิน
4. โรคใบด่าง (Mosaic)
สาเหตุเกิดจาก เชื้อวิสา Tumip Mosaic Virus (TuMV)
ลักษณะอาการ ใบด่างเหลือง ชะงักการเจริญ เนื้อใบหยิกเป็นคลื่น โดยเฉพาะใบส่วนยอด ถ้าโรคนี้ เข้าทำลายตั้งแต่ต้นยังเล็กพืชจะไม่เข้าปลี หรือลงหัวเชื้อวิสาชนิดนี้สามารถถ่ายทอดได้อย่างรวดเร็วด้วยการสัมผัส แต่ไม่ติดไปกับเมล็ดพันธุ์ โดยธรรมชาติจะถ่ายทอดโดยเพลี้ยอ่อน
การป้องกันกําจัด
- ระมัดระวังในการปฏิบัติงาน เพื่อลดการกระจายโรคโดยการสัมผัส
- ถอนต้นที่เป็นโรคออกเผาทําลายทันทีที่พบ
- กําจัดแมลงที่จะทําให้โรคแพร่ระบาด
แมงศัตรูที่สำคัญมีดังนี้
1. หนอนกระทู้ผู้
ตัวหนอนมีลักษณะลําตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบ มีสีต่างๆ กัน ส่วนหัวมีจดุ สีดำใหญ่ตรงปล้องที่ 3 หนอนที่เกิดใหม่จะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เมื่อโตเต็มที่มีขนาด 3-4 เซนติเมตร เคลื่อนไหวช้าระยะตัวหนอนประมาณ 15-20 วัน และจะเข้าดักแด้ใต้ผิวดิน ระยะดักแด้ประมาณ 7-10 วัน การทําลายจะกัดก้านใบ และปลีในระยะเข้าปลี
การป้องกันกําจัด
- หมั่นตรวจดูสวนผักเป็นระยะๆ เมื่อพบไข่และตัวหนอนที่กําลังอยู่นัก เป็นกลุ่ม ก็ทำการเก็บทําลาย
- การใช้สารเคมี มักไม่ค่อยมีปัญหา เพราะหนอนอ่อนแอต่อสารเคมี ป้องกันและกําจัดแมลงโดยใช้สารเคมีกลุ่ม เมธามิโดฟอสหรือโมโนโครฟอส และหยุดใช้สารเคมีก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน
2. หนอนใยผัก
ตัวเต็มวัยของหนอนใยผักเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กประมาณ 6-7 มม. มีสีเทาส่วนหลัง มีแถบสีเหลืองส้ม ตัวเต็มวัยมีอายุ 5-7 วัน สามารถวางไข่ได้หลายคครั้ง วางไข่ได้สูง โดยเพศเมียวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ประมาณ 2-10 ฟอง วางทั้งบนและใต้ใบพืชตัวเต็มวัยเพศเมียตัวหนึ่งๆ วางไข่ได้ประมาณ 47-407 ฟอง ไข่มีสีเหลืองอ่อนเป็นมัน ระยะไข่ 3-4 วัน หนอนเมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ๆ จะอาศัยกัดกินอยู่ภายในใบ หลังจากนั้น จะออกมากัดกินภายนอกทําให้ผักเป็นรูพรุน หนอนมีลักษณะ หัวแหลม ท้ายแหลม ลําตัวเรียวยาว ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นเป็น 2 แถว หนอนมีสีเขียวอ่อนเทาหรือเขียวปนเหลือง เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างรุนแรงและทิ้งตัวลงก่อนโดยการสร้างใย
การป้องกันกําจัด
- ใช้เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัสทรูรินเจนซิส (บีที) ฉีดพ่นใบเวลาบ่ายหรือเวลาเช้า
- ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เพื่อจับตัวเต็มวัยของหนอนใยผัก
- เลือกช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม เนื่องจากหนอนใยผักจะระบาดในช่วงฤดูแล้ง ส่วนในช่วงฤดู ฝนทําลายเพียงเล็กน้อย
- การใช้สารเคมีป้องกันกําจัดแมลง แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะอาจจะก่อให้เกิดปัญหาแมลงดื้อต่อสารเคมี และพิษตกค้างต่อสิ่งแวดล้อม
3. ด้วงหมัดผัก
ด้วงหมัดผัก มี 2 ชนิด คือชนิดมีแถบสีน้ำตาลอ่อนพาด 2 แถว (ชนิดลาย) และชนิดสีน้ำเงินเข้ม ลักษณะการทําลายด้วงหมัดผักเต็มวัยจะกัดกินใบจนรูพรุน และตัวอ่อนอาศัยอยู่ในดินเข้ากัดกินส่วนของรากและชอนไชกัดกินโคนต้น ทําให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตต้นเหี่ยวเฉา
การป้องกันกําจัด
- ไถตากหน้าดินในฤดูแล้ง เพื่อทําลายตัวอ่อนหรือดักแด้ในดิน
- ใช้ยาฆ่าแมลงพวก เซพวิน 85% 20-30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- หมุนเวียนชนิดผัก ควรหยุดช่วงการปลูกผักตระกูลกะหล่ำและหาผักชนิดอื่นมาปลูกสลับบ้าง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.eto.ku.ac.th
https://www.flickr.com