หางไหลแดง รากนำมาแช่น้ำ สามารถใช่ฉีดพ่นป้องกันแมลงวัน หนอนเพลี้ยอ่อนได้

หางไหลแดง

ชื่ออื่นๆ : โล่ติ๊น กะลำเพาะ เครือไหลน้ำ หางไหลแดง ไหล ไหลน้ำ (เหนือ) อวดน้ำ (สุราษฎร์ธานี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : : Tuba Root, Derris

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris elliptica (Roxb.) Benth.

ชื่อวงศ์ : Leguminosae – Papilionaceae

ลักษณะของหางไหลแดง

ลำต้นมีลักษณะกลม เป็นเถาเลื้อย เถาอ่อนมีสีเขียว และสีน้ำตาลปนแดงเมื่อเถาแก่ และจะสีเขียวที่เห็นชัดบริเวณปล้องก่อนถึงยอด 2-3 ปล้อง สำหรับเถาแก่ ใบเป็นใบประกอบ เหมือนขนนกปลายถี่ ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน และเป็นสีเขียวแก่เมื่ออายุใบมากขึ้น ใบจะแตกออกเป็นคู่ๆตรงข้ามกัน 2-4 คู่ ใบคู่แรกมีขนาดเล็กที่สุด และเริ่มใหญ่ขึ้นตามลำดับ โดยมีใบสุดท้ายบริเวณยอดใบเป็นใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่สุด ใบย่อย กว้างประมาณ 3.0-9.5เซนติเมตร และยาวประมาณ 6.5-27.0 เซนติเมตร ใบอ่อนบริเวณยอดจะปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลปนแดง พื้นใบด้านบนสีเขียว มีลักษณะมัน มีเส้นแขนงใบคล้ายก้างปลาอย่างเห็นได้ชัด ด้านท้องใบมีสีเขียว และเห็นเส้นใบชัดกว่าด้านบน ดอกจะออกเป็นช่อตามลำต้น ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ดอกตูมมีสีชมพูอมม่วง เมื่อบานจะมีสีชมพูอ่อน และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่ออายุดอกมากขึ้น ผลออกเป็นฝัก ฝักอ่อนมีสีเขียว และสีน้ำตาลปนแดงเมื่อฝักแก่ และจะปริแตกเมื่อฝักแห้ง ฝักมีลักษณะแบน ภายในประกอบด้วยเมล็ดลักษณะกลมแบนเล็กน้อย

ต้นหางไหลแดง
ต้นหางไหลแดง เถาอ่อนมีสีเขียว และสีน้ำตาลปนแดงเมื่อเถาแก่

การขยายพันธุ์ของหางไหลแดง

ใช้กิ่ง/ลำต้น/-

ธาตุอาหารหลักที่หางไหลแดงต้องการ

ประโยชน์ของหางไหลแดง

ประโยชน์ด้านกำจัดแมลง : นำรากหางไหล 1/2 – 1 กิโลกรัม มาทุบแล้วแช่น้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ค้างคืน นำน้ำหมักมาฉีดพ่นในแปลงพืชผล ควรฉีดพ่นในช่วงแดดอ่อนๆ ใช่ฉีดพ่นป้องกันแมลงวัน หนอนเพลี้ยอ่อน ด้วงงวงถั่ว ตั๊กแตนตัวอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่น ฯลฯ โดยไม่มีสารพิษตกค้าง เพราะสาร rotennone ที่มีในโล่ติ๊นสามารถสลายตัวได้ง่าย และไม่เป็นอันตรายต่อคน

ข้อควรระวัง เป็นพิษต่อปลา จึงไม่ควรใช้กับแปลงผักหรือแปลงไม้ผลที่มีบ่อเลี้ยงปลาอยู่ใกล้ ๆ

ดอกหางไหลแดง
ดอกหางไหลแดง ดอกตูมมีสีชมพูอมม่วง เมื่อบานจะมีสีชมพูอ่อน

สรรพคุณทางยาของหางไหลแดง

ราก  นำมาทุบแล้วแช่น้ำใช้เป็นยาเบื่อปลา
ลำต้น  ทุบแล้วนำไปแช่ไว้ในลำห้วย จะทำให้ปลาเมา สามารถจับมากินได้ง่าย
เถา  ผสมกับยาอื่นๆ สำหรับเป็นยาขับประจำเดือนสตรี แก้ระดูเป็นลิ่มหรือก้อน นอกจากนี้ยังใช้เถาหางไหล หั่นเป็นชิ้นตากแห้ง และนำมาดองสุรารับประทาน สำหรับเป็นยาขับลม บำรุงโลหิต และยาลดเสมหะ

คุณค่าทางโภชนาการของหางไหลแดง

การแปรรูปของหางไหลแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11740&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment