โสกเหลือง
ชื่ออื่นๆ : ศรียะลา, โสกเหลือง ,อโศกเหลือง , อโศกใหญ่
ต้นกำเนิด : เมียนม่าห์ จนถึงอินโดนีเซีย ประเทศไทยพบตามป่าดงดิบใกล้ริมน้ำทางภาคใต้ ปัจจุบันพบปลูกประดับทั่วไป ออกดอกช่วงเดือน มกราคม-เมษายน
ชื่อสามัญ : อโศก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Saraca thaipingensis cantley ex Prain
ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE
ลักษณะของโสกเหลือง
ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร ไม่ผลัดใบ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย 4-8 คู่ รูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3-9 ซม. ยาว 7-30 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบถึงมนกลม ใบอ่อนห้อยลง ออกสีแกมม่วง
ดอก สีเหลืองสด ออกเป็นช่อ ขนาด 15-35 ซม. ใบประดับรูปไข่ ดอกย่อยจำนวนมาก ฐานรองดอกเชื่อมเป็นหลอด แคบ ยาว 1.2-2.6 ซม. กลีบรองดอก 4 กลีบ ไม่มีกลีบดอก เกสรผู้ 4-6 อัน รังไข่มีขน
ผล สีม่วงอมแดง เป็นฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 3.5-8 ซม. ยาว 15-40 ซม. เมื่อแก่แล้วแตกด้านข้าง
การขยายพันธุ์ของโสกเหลือง
การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง
พบบริเวณริมลำธารในป่าดิบเชิงเขา
ธาตุอาหารหลักที่โสกเหลืองต้องการ
ประโยชน์ของโสกเหลือง
- ดอกสวยงาม ปลูกเป็นไม้ประดับได้ดี
- ต้นไม้ประจำจังหวัดยะลา เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของโสกเหลือง
ดอก แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงธาตุ
คุณค่าทางโภชนาการของโสกเหลือง
การแปรรูปของต้นโสกเหลือง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th
www.yala.go.th
www.flickr.com
One Comment