โสมไทย ยอดอ่อน ใบอ่อน นำมาปรุงอาหารได้

โสมไทย

ชื่ออื่นๆ : สมคน (ภาคกลาง) , ว่านผักปั๋ง (ภาคเหนือ) , กู่เหยิ่นเซิน , โทวหนิ่งเซียม (จีน)

ต้นกำเนิด : ทวีปเอเชีย

ชื่อสามัญ : Java ginseng , Sweetheart,  Fame Flower, Surinam Purslane, waterleaf, Ceylon Spinach

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Talinum paniculata (Jacq.) Gaertn.

ชื่อวงศ์ : PORTULACACEAE

ลักษณะของโสมไทย

พืชล้มลุกขนาดเล็ก สูง 60-80 เซนติเมตร หรืออาจสูงได้ถึง 1 เมตรต้นเป็นเหลี่ยมตั้งตรงน้ำ แตกกิ่งบริเวณโคนต้นลำต้นอ่อนมีสีเขียวเปราะและหักง่าย เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลเนื้อแข็ง มีเหง้าใต้ดินเมื่อรากโตเต็มที่จะมีรูปร่างเหมือนโสมจีน หรือโสมเกาหลีเปลือกรากเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลเนื้อในสีขาวนวล มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย

ใบ ใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปมนรี หรือรูปไข่กลับ ปลายมนหรือแหลมสั้น หรือปลายโตแหลม โคนสอบแหลม เนื้อใบหนา ขอบใบเรียบ ท้องใบและหลังใบเรียบ ใบสีเขียวอมเหลืองเป็นมัน ก้านใบชูตั้ง ใบกว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 5-7.5 นิ้ว

ดอก ดอกเป็นช่ออยู่ที่ส่วนยอดหรือปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีชมพู ดอกบานเต็มที่ประมาณ 6 มม. มีอยู่ 5 กลีบ สีม่วงแดง กลีบเลี้ยงมี 2 กลีบร่วงง่าย เกสรกลางดอกมี 10 อัน คล้ายดาว เกสรสีเหลืองยื่นยาวออกจากกลีบดอกคล้ายชบา ก้านดอกยาว

ผล ขนาดเล็กกลม โตประมาณ 3 มม. ผลสีแดงมีเมล็ดอยู่ภายในสีดำ

หัว ลักษณะคล้ายโสมคน

ต้นโสมไทย
ต้นโสมไทย ต้นเป็นเลี่ยมตั้งตรง ใบเป็นรูปมนรี ดอกออกที่บริเวณยอด

การขยายพันธุ์ของโสมไทย

ใช้เมล็ด/การขยายพันธุ์ เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่โสมไทยต้องการ

ประโยชน์ของโสมไทย

ในประเทศไทยมีการนำโสมไทยไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น ยอดอ่อน และใบอ่อนของโสมไทยสามารถนำไปรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกโดยจะนำไปลวกหรือกินสดๆ ก็ได้ หรืออาจจะนำไปผัดแบบผักต่างๆ หรือนำมาใช้ทำแกงจืด (ใช้แทนตำลึง) แกงแค แกงเลียง และยังใช้นำมาประกอบอาหารแทนผักโขมก็ได้

สรรพคุณทางยาของโสมไทย

สรรพคุณและวิธีใช้
หัว บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
ใบ กินเป็นผักใบเขียว บำรุงร่างกาย แก้บวมอักเสบ มีหนอง ขับน้ำนม
ราก บำรุงปอด แก้อ่อนเพลีย แก้ไอ ท้องเสีย ปัสสาวะขัด

คุณค่าทางโภชนาการของโสมไทย

การแปรรูปของโสมไทย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10746&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment