ใบระบาด
ชื่ออื่นๆ : ต้นระบาด, ผักบุ้งเงิน, ผักระบาด (ภาคกลาง) เมืองบอน (กรุงเทพฯ)
ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย
ชื่อสามัญ : Morning Glory , Baby Hawaiian Woodrose
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Argyreia nervosa (Burm.f.) Bojer
ชื่อวงศ์ : Convolvulaceae
ลักษณะของใบระบาด
ต้น จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพันต้นไม้อื่น มีความยาวได้ถึง 10 เมตร ตามเถามีขนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม ทุกส่วนมียางสีขาว เถาอายุน้อยจะนุ่มและอวบน้ำ แต่พอแก่แล้วเถาจะแข็งเป็นไม้ ทอดยาวเหยียดไปได้ไกล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอน ทาบกิ่ง และปักชำ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีอินทรียวัตถุมาก
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้า มีขนาดกว้างประมาณ 8-25 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีขนนุ่มสีขาวขึ้นปกคลุม ตามขอบใบมีขนสีขาว ก้านใบยาวและมีขน
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยประมาณ 3-5 ดอก ก้านช่อแข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีชมพูอมม่วง คล้ายดอกผักบุ้ง มีใบประดับเป็นรูปไข่ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ มีขนาดไม่เท่ากัน กลีบดอกเป็นรูปกรวย ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายบานออกเป็นรูปปากแตรและหยักเป็นแฉกตื้น ๆ โคนด้านนอกมีขนนุ่ม ตรงกลางดอกข้างในหลอดเป็นสีม่วงเข้ม ดอกมีเกสรอยู่ภายในหลอดดอก เกสรเพศผู้มี 5 อัน มีขนปุกปุยที่โคน และมีรังไข่เกลี้ยงอยู่ประมาณ 4 ช่อง ดอกร่วงได้ง่าย เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร
ผล ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม สีน้ำตาลอมเหลือง ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายผลมีติ่ง เมล็ด ( white seed coat exterior) มี cyanogenic glycosides
การขยายพันธุ์ของใบระบาด
ตอนทาบกิ่ง และปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่ใบระบาดต้องการ
–
ประโยชน์ของใบระบาด
- นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โดยทำเป็นร้านหรือซุ้มเพื่อให้ลำต้นเลื้อยขึ้นไปได้ แต่คนไทยโบราณจะนิยมปลูกไว้ริมรั้วบ้าน เนื่องจากสะดวกต่อการเกาะเลื้อยและแผ่ขยายลำต้นไปได้ไกล
- 2. ในเรื่องของความเชื่อคนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นใบระบาด (ต้นใบละบาท) ไว้จะทำให้เกิดความร่ำรวยด้วยเงินตรา หากต้นมีจำนวนใบที่มากขึ้นก็จะทำให้มีเงินเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากการแตกใบ 1 ใบ มีค่าเท่ากับ 1 บาท นอกจากนี้ใต้ใบยังมีสีคล้ายกับเงินที่เคลือบอยู่อีกด้วย และเพิ่มความเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย
ควรปลูกต้นใบระบาดไว้ทางทิศตะวันตก และให้ปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร
สรรพคุณทางยาของใบระบาด
- รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)
- รากใช้รักษาโรคอ้วนที่เกิดจากการสะสมของไขมัน (ราก)
- น้ำคั้นจากใบใช้หยอดหูเป็นยารักษาอาการอักเสบ (ใบ)
- ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
- ช่วยกระตุ้นกำหนัด (ราก)
- รากใช้เป็นยาขับน้ำเหลืองเสีย (ราก)
- ใบใช้ตำพอกรักษาบาดแผล รักษาอาการอักเสบ (ใบ)
- ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 2-3 ใบ นำมาล้างให้สะอาด แล้วตำให้ละเอียด ใช้เป็นยาทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกัน 3-4 วัน จะเห็นผล (ใบ)
- ใบใช้ตำพอกรักษาฝี (ใบ)
- รากใช้เป็นยารักษาโรคเท้า แก้โรคไขข้ออักเสบ (ราก)
ขนาดและวิธีใช้ : ใบใช้เฉพาะภายนอก ส่วนรากให้ใช้จำนวนพอประมาณ นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยา
ข้อควรระวัง : ใบห้ามนำมารับประทาน ถ้าหากรับประทานใบเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง มึนงง ตาพร่า ส่วนเมล็ดถ้ารับประทานเข้าไปจะทำให้ประสาทหลอน
คุณค่าทางโภชนาการของใบระบาด
–
การแปรรูปของใบระบาด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11488&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://arit.kpru.ac.th
https://www.flickr.com/