ใบ้สามสี ไม้ประดับ ลำต้นทอดเลื้อยตามผิวดิน

ใบ้สามสี

ชื่ออื่นๆ : โพธิ์เงินลาย, สามสี, อ้ายใบ้สามสี (กทม.)

ต้นกำเนิด : มาเลเซีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย

ชื่อสามัญ : Spotted Evergreen, Chinese Evergreen,  Malaysian Evergreen

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaonema costatum N.E.Br.

ชื่อพ้อง : Aglaonema costatum f. costatum, Aglaonema costatum var. foxii Engl.

ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะของใบ้สามสี

ลำต้น  ไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นกลมเป็นข้อและมีสีเขียวสด โคนใบแผ่หุ้มรอบต้น ลำต้นทอดเลื้อยตามผิวดิน ต้นสูง 0.3-0.4 ม.

ใบ  ใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับ ใบ ยาว 20 ซม. รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ เส้นกลางใบสีขาว มีจุดสีขาวกระจายจากเส้นกลางใบ

ต้นใบ้สามสี
ต้นใบ้สามสี ลำต้นทอดเลื้อยตามผิวดิน ใบ มีจุดสีขาวกระจายจากเส้นกลางใบ

ดอก ดอกออกเป็นช่อเชิงลดตามซอกใบ ใกล้ปลายยอดหรือปลายยอด ช่อดอกรูปทรงกรกะบอก มีกาบหุ้มช่อดอก รูปรี สีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ดอกย่อยสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวนวล ไม่มีกลีบดอก ดอกแยกเพศอยู่ช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้อยู่บริเวณปลายช่อ ส่วนดอกเพศเมียอยู่บริเวณโคนช่อดอก

ผล รูปรีหรือกลม ผิวเรียบ ผลมีเนื้อ ผลสุกสีแดง

ดอกใบ้สามสี
ดอกใบ้สามสี ดอกมีกาบหุ้มช่อดอก รูปรี สีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของใบ้สามสี

  • การเพาะเมล็ด
  • ปักชำยอด การตอนยอด มักใช้กับลำต้นที่มีขนาดใหญ่
  • การชำข้อและต้น ตัดส่วนของข้อลำต้นเป็นท่อนๆ นำไปปักชำในขี้เถ้าแกลบ
  • แยกหน่อแยกหน่อที่มีใบ 2-3 ใบ และโคนหน่อต้องมีราก

ธาตุอาหารหลักที่ใบ้สามสีต้องการ

ดินที่มีการระบายน้ำดี ดินที่อุดมสมบูรณ์

ประโยชน์ของใบ้สามสี

  • ปลูกประดับสถานที่
  • ปลูกเป็นไม้กระถาง

สรรพคุณของใบ้สามสี

คุณค่าทางโภชนาการของใบ้สามสี

การแปรรูปใบ้สามสี

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org, www.flickr.com

Add a Comment