ไคร้มด ยอดอ่อนใช้ประกอบอาหาร เช่น ยำ หรือรับประทานสด

ไคร้มด

ชื่ออื่นๆ : ไคร้มันปลา(คนเมือง)  ไคร้มด(เชียงใหม่) จานา(ประจวบคีรีขันธ์)  ชะหนอน(ระนอง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glochidion eriocarpum

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะของไคร้มด

ต้น  ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น สูงถึง 6 ม. เส้นรอบวงยาว 15 ซม. กิ่งที่มาดอกขนาดหนา 2-3 มม. มีขนกำมะหยี่ปกตลุมทั่วไป เปลือกนอกเป็นร่องเล็กน้อย สีออกดำหรือออกเทา

ใบ  หูใบ รูปสามเหลี่ยม กว้าง 0.6-1.3 มม. ยาว 1.5-3.2 มม. หลุดร่วงง่าย ก้านใบ ยาว 2.5 มม. โคนก้านป่อง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปรี มักโค้งเป็นเคียว โคนเบี้ยว ปลายแหลม หรือเป็นหนามแข็ง ขอบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนามัน ด้านบนค่อนข้างเกลี้ยง หรือมีขนบนเส้นใบ สีเขียวเข้ม ด้านล่างค่อนข้างเกลี้ยงหรือมีขนกำมะหยี่ เป็นนวล สีเขียวเทาเนื่องจากมีไข เส้นใบแบนหรือนูนเล็กน้อย ด้านบนด้านล่างนูนขึ้น เส้นใบมีข้างละ 9-12 เส้น เส้นใบย่อยเป็นชั้นบันได

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบ มีใบประดับ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ในช่อเดียวกัน ดอกเพศผู้มี 5 หรือมากกว่า 20ดอก ดอกเพศเมียมี 1-3 ดอกอยู่ด้วยกัน กลีบดอกมี 6 กลีบ แยกจากกัน ไม่มีกลีบดอก จากฐานดอกและเกสรเพศเมียเป็นหมัน ดอกเพศผู้ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.4-4.2 มม. ก้านดอกย่อยเล็กเรียว ยาว 4.5-5.2 มม. มีขนกำมะหยี่สีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงแข็ง รูปไข่กลับ ปลายแหลม สีอมเขียวหรือสีเหลืองสด กลีบชั้นนอกกว้าง 1-1.2 มม. ยาว 2-2.8 มม. กลีบชั้นในกว้าง 0.8-1.1 มม. พับเป็นจับ เกสรเพศผู้มี 3 อัน เชื่อมติดกันเป็นก้านชูเกสรเพศผู้ สีเหลือง อับเรณูมี 4 ช่อง แกนอับเรณูเป็นฟันหยาบ ดอกเพศเมีย เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.6-3.4 มม. ก้านดอกย่อยยาว 5-8 มม. กลีบเลี้ยงติดแน่น บางทีมีแต่กลีบชั้นนอก กลีบชั้นนอกรูปไข่ กลีบชั้นในรูปสามเหลี่ยม มีออวุล 2 หน่วยต่อหนึ่งช่อง ยอดเกสรเพศเมียติดแน่นเป็นรูปกรวย ปลายเป็นซี่ฟันกว้างน้อยกว่า 0.5 มม. สีเหลือง

ผล  ผลกลม แบน กว้าง 0.3-0.4 ซม. มักออกบนกิ่งที่ไม่มีใบ มีขนยาวห่างเมื่อยังอ่อน สีเขียวถึงสีน้ำตาลมัน แกนกลางผลที่โคนเป็นรูปสามเหลี่ยม

เมล็ด รูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว กว้าง 2.4-3 มม. หนา 2.3-2.6 มม.

ไตร้มด
ไตร้มด ใบรูปไข่หรือรูปรี ปลายแหลม เนื้อใบค่อนข้างหนามัน
ไคร้มด
ไคร้มด ดอกสีเหลืองเขียว ก้านดอกมีขนกำมะหยี่สีเขียวอมเหลือง

การขยายพันธุ์ของไคร้มด

เมล็ด ตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ไคร้มดต้องการ

ประโยชน์ของไคร้มด

ยอดอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น ยำ หรือรับประทานสด จิ้มน้ำพริก(คนเมือง)

สรรพคุณทางยาของไคร้มด

คุณค่าทางโภชนาการของไคร้มด

การแปรรูปของไคร้มด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11202&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment