ไผ่รวกดำ ไม่พุ่มเป็นกอ หน่ออ่อนนำมาทำอาหาร

ไผ่รวกดำ

ชื่ออื่นๆ : ไผ่รากดำ, ไผ่เปา, ไผ่ตง, ไผ่สะหลอน (ซาน-ภาคเหนือ) ว่าบอซู (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : พบทุกภาคของประเทศ

ชื่อสามัญ : ไผ่รวกดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyrsostachys siamensis Gamble

ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE

ลักษณะของไผ่รวกดำ

ต้น ไผ่รวกดำขึ้นเป็นกอแน่นลำเปลาตรงสูงประมาณ 10-25 เมตร กิ่งเรียวเล็กเฉพาะตอนปลายลำเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 ซม. เมื่อยังอ่อนมีสีเขียวสดมีขนอ่อนสีเทาพอลำแก่มีสีเขียวอมเหลือง ข้อโตมองเห็นได้ชัด

ใบ ใบสีเขียวอ่อนรูปไข่ linear – lanceolate ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ขนาดของใบยาว 15-20 ซม. กว้าง 1.2-20 ซม. ก้านใบสั้นยาว 0.2 ซม. ใบทั้งสองด้านคายด้านล่างมีขน ขอบใบสากและคมเมื่อยังอ่อนๆ ใบจะโตท้องใบจะมีขนยาวหลังใบมีขนแข็งเส้นลายใบมีอยู่ 6 คู่ กาบหุ้มใบมีขนเป็นร่องปลายกาบไม่มีขนปากหรือปลายกาบอาจจะมีขนเป็นเส้น ส่วนริมขอบมีขนครีบกาบสั้นปลายตัดและมีขนอ่อนๆ

กาบหุ้มลำ ไม่หลุดออกจากลำง่ายๆ มีสีเขียวถึงสีส้มหรือน้ำตาล ข้างนอกมีขนดำแน่นแซมขนอ่อนสีขาว ขอบของกาบมีขน ตอนปลายกาบจะมนไม่มีครีบกาบ กระจังของกาบแคบประมาณ 3 มม. หยักใบยอดกาบเป็นรูปปลายสว่านที่เป็นรูปสามเหลี่ยม มียอดเล็กแหลมงอพับ

ต้นไผ่รวก
ไผ่รวกจะขึ้นเป็นกอแน่น เมื่ออ่อนใบจะมีสีเขียวสด เมื่อแก่ใบจะมีเขียวเหลือง

การขยายพันธุ์ของไผ่รวกดำ

เหง้า ปักชำลำ เมล็ด

พบในป่าเบญจพรรณชื้น หรือในป่าเบญจพรรณผสมไม้สัก

ธาตุอาหารหลักที่ไผ่รวกดำต้องการ

ประโยชน์ของไผ่รวกดำ

ใช้หน่อ ต้มใส่ใบย่านางเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือนำไปประกอบอาหาร เช่น แกงเปรอะ ต้มจืดหน่อไม้ ทำซุปหน่อไม้

ไผ่รวกดำ
ไผ่รวกดำ กาบหุ้มลำมีขนดำแน่นแซมขนอ่อนสีขาว

สรรพคุณทางยาของไผ่รวกดำ

  • ใบ รสขื่น เฝื่อน ขับและฟอกล้างโลหิต ขับระดูขาว แก้มดลูกอักเสบ และขับปัสสาวะ ตา รสเฝื่อน แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ไขพิษ
  • ราก รสกร่อย เอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ขับนิ่ว หน่อไม้ตาเต่า รสขื่นขม ติดจะร้อน แก้ตับหย่อน ตับทรุด ม้ามย้อย แก้กระษัย และเลือดเป็นก้อน

คุณค่าทางโภชนาการของไผ่รวกดำ

การแปรรูปของไผ่รวกดำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9544&SystemType=BEDO
http://area-based.lpru.ac.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment