ไผ่สีสุก เป็นไผ่ที่มีเนื้อไม้ละเอียด เหนียว ทนทาน ใช้ในงานจักสานได้ดี

ไผ่สีสุก

ชื่ออื่นๆ : ไผ่สีสุก, ว่ามีบอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : หมู่เกาะอินเดียยตะวันออก หรือหมู่เกาะแปซิฟิคตอนใต้

ชื่อสามัญ : : Bamboo

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa blumeana Schult.f.

ชื่อวงศ์ : Gramineae

ลักษณะของไผ่สีสุก

ต้น  ไม้ไผ่ปรเภทมีหนาม ความยาวลำต้น สูง  10-18 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8-12 เซนติเมตร แข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออกมา กิ่งมาก แตกตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่มๆ ละ 3 อัน อันกลางยาวที่สุด ลำมีรูเล็ก เนื้อหนา 

ต้นไผ่สีสุก
ต้นไผ่สีสุก ลำต้นมีหนาม ผิวเรียบเป็นมัน
หน่อไผ่สีสุก
หน่อไผ่สีสุก หน่อมีรสชาติดีและกรอบ

ใบ  มีจำนวน 5-6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มกว้างๆ หรือตัดตรงแผ่นใบกว้าง 0.8-2 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร ด้านล่างมีสีเขียวอมเหลือง เส้นใบมี 5-9 เส้น ก้านใบสั้น ขอบใบสาก ครีบใบเล็กมีขนสั้น

ใบไผ่สีสุก
ใบไผ่สีสุก ปลายใบเรียวแหลม ด้านล่างมีสีเขียวอมเหลือง

การขยายพันธุ์ของไผ่สีสุก

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ประเทศไทยมักขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่มริมห้วย ริมแม่น้ำ และมักปลูกรอบบ้าน

ธาตุอาหารหลักที่ไผ่สีสุกต้องการ

ประโยชน์ของไผ่สีสุก

  • ไผ่สีสุก เป็นไผ่ที่มีเนื้อไม้ละเอียด เหนียว ทนทานดีมาก ใช้ในงานจักสานต่างๆได้ดี ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไผ่ชนิดนี้สวยงามและคงทน ใช้ไผ่อายุ 1 – 3 ปี ส่วนการใช้ลำนั้น เนื่องจากมีความแข็งทนทานดี ปัจจุบันใช้ไผ่ชนิดนี้ทำเฟอร์นิเจอร์กันมากขึ้น จะได้งานที่สวยงามแข็งแรงทนทาน อายุลำไผ่ที่ใช้ 3 – 5 ปี
  • หน่อ หน่อของไผ่สีสุกสามารถนำมาทำหน่อไม้ดอง ซึ่งรสชาติดีมาก และมีความกรอบอยู่ในตัวเหมาะที่จะนำมาแกงส้ม หรือต้มส้มหน่อไม้ดองก็ดีไม่น้อย
  • ลำ ลำของไผ่สีสุกมักนิยมนำมาทำเครื่องจักสานชนิดต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยโบราณ เนื่องจากไผ่สีสุกมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ เนื้อลำหนาและมีความเหนียวทนทานดีมาก ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ชนิดนี้มีความสวยงามคงทน และเป็นที่นิยมนำไปทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากกว่าไผ่ชนิดอื่น นอกจากนี้ยังใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ ใช้ในการก่อสร้าง เช่นใช้ทำนั่งร้าน ใช้ทำเครื่องมือในการประมง และเครื่องใช้ที่ต้องใช้งานเป็นเวลานาน โคนไม้ไผ่สีสุกยังนิยมนำมาทำคานสำหรับหาบหามกันมาก เนื่องจากเนื้อหนาและมีแรงสปริงตัวดี(ยืดหยุ่น) นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเยื่อกระดาษได้อีกด้วย และยังมีประโยชน์ด้านต่าง ๆ อีกจำนวนมาก เช่นใบใช้ทำปุ๋ย
  • โคน ใช้ทำคานหาบและใช้ทำกระดาษให้เยื่อสูง

สรรพคุณทางยาของไผ่สีสุก

คุณค่าทางโภชนาการของไผ่สีสุก

การแปรรูปของไผ่สีสุก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11742&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment