กระเบาใหญ่
ชื่ออื่นๆ : กระเบา (ทั่วไป) กระเบาน้ำ, กระเบาเข้าแข็ง, กระเบาใหญ่, กระเบาเข้าเหนียว, แก้วกาหลง (ภาคกลาง) กระเบาตึ้ก (เขมร, ภาคตะวันออก) ตั้วโฮ่งจี๊ (จีน) เบา (สุราษฎร์ธานี)
ต้นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน และไห่หนาน
ชื่อสามัญ : Chaulmoogra
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hydnocarpus antelminthica Pierre ex Laness
ชื่อวงศ์ : FLACOURTIACEAE
ลักษณะของกระเบาใหญ่
ต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เนื้อไม้กรอบ
ใบ ใบเดี่ยว รูปหอกแกมรูปไข่ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบสอบเรียว ขอบใบเรียบ เรียงสลับ หลังใบเรียบเป็นมัน สีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเรียบไม่ลื่นและมีสีอ่อนกว่า เนื้อใบทึบแข็งมีลักษณะกรอบ
ดอก ดอกสีเหลืองแกมชมพู แยกเพศและอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเดี่ยวตามซอกใบ กลิ่นหอมมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีขนอ่อนนุ่มทั้ง 2 ด้าน กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู เกสรเพศผู้ 5 อัน ดอกเพศเมียออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกับดอกเพศผู้ เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ 5 อัน ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 5 แฉก รังไข่รูปไข่หรือรูปไข่กลับ มีขนสั้นๆ สีน้ำตาลแดง
ผล ผลกลม เปลือกผลหนาแข็งเป็นสีน้ำตาล ผิวผลมีขนคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาล เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-12 ซม. ผิวเรียบ เปลือกแข็ง มีขนหรือเกล็ดสีน้ำตาล มี 30-50 เมล็ด อัดกันแน่น เมล็ดรูปไข่ เบี้ยว ปลายทั้ง 2 ข้างมน เนื้อในผลเป็นสีขาวอมเหลือง ข้างในผลมีเมล็ดสีดำอัดแน่นรวมกันอยู่เป็นจำนวนมาก ประมาณ 30-50 เมล็ด ออกดอกและติดผลเดือนมกราคม-มิถุนายน
การขยายพันธุ์ของกระเบาใหญ่
การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง
ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขาและป่าดิบชื้นความสูงถึงประมาณ 1,600 เมตร
ธาตุอาหารหลักที่กระเบาใหญ่ต้องการ
ประโยชน์ของกระเบาใหญ่
- เนื้อผลรับประทานได้
- ด้านเนื้อไม้แปรรูป ใช้ทำกระดานพื้น ฟืน
- เมล็ด ให้น้ำมันเรียกว่า น้ำมันกระเบา Chaulmoogra oil หรือ Hydnocarpus oil) มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็น Chaulmoogric acid และ hydnocarpus acid
- ผลสุก มีเนื้อเป็นแป้ง สีขาวอมเหลืองอ่อน เนื้อเยื่อคล้ายเผือกต้ม
- เนื้อผลที่แก่จัด ใช้รับประทานเป็นของหวานกับน้ำกะทิ รสมัน นุ่ม หวาน
- ผลเป็นอาหารของลิงและปลา มีรสชาติมัน และมีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต แป้ง และน้ำตาล
- ใบและเมล็ดมีพิษ มี cyanogenetic glycoside
ด้านการเป็นไม้ประดับ เป็นไม้ที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก มีเรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ไม่ผลัดใบ นั่นหมายถึงมีใบให้ร่มเงาได้ตลอดปี โดยเฉพาะเมื่อมีการแตกใบอ่อนสีชมพูแดงให้สีสันสวยงามมาก ในขณะที่มีกระแสลมพัดพลิ้วยอดอ่อน ๆ เหล่านั้น หรือเมื่อกระทบแสงอาทิตย์ในตอนเช้า ดอกแม้มีขนาดเล็กแต่กลิ่นหอมแรงมากผลมีขนาดใหญ่คล้ายผลสีทองสวยงามดี สามารถปลูกได้กว้างขวางทุกภาค เนื้อผลเป็นของหวานได้ด้วย บางแห่งปลิดเนื้อให้ปลากินเป็นอาหาร
สรรพคุณของกระเบาใหญ่
- ใบ รสเมาเบื่อ แก้พิษบาดแผลสด แก้กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิบาดแผล
- ผล รสเมาเบื่อมัน แก้โรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน มะเร็ง คุดทะราด
- เมล็ด รสเมาเบื่อมัน บำบัดโรคเรื้อน มะเร็ง คุดทะราดและโรคผิวหนังผื่นคัน รักษาโรคบนศรีษะ ยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคเรื้อนและวัณโรค
- เมล็ดใน แก้โรคผิวหนังต่าง ๆ แก้โรคเรื้อน
- รากและเนื้อไม้ รสเมาเบื่อ แก้โรคผิวหนัง ฆ่าพยาธิผิวหนังต่าง ๆ รักษาแผล แก้เสมหะเป็นพิษ ดับพิษทั้งปวง
- เปลือก ขับปัสวะ
- น้ำมันสกัดจากเมล็ดใช้เป็นยารักษาโรคเรื้อนและอาการปวดบวมตามข้อ
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา รักษาโรคเรื้อน รักษาวัณโรค ทำให้อักเสบ กระตุ้นการหายใจ ยับยั้งมดลูกบีบตัว ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร ยับยั้งมะเร็ง ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านยีสต์ แก้ไข้ คลายกล้ามเนื้อเรียบ กระตุ้นการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
คุณค่าทางโภชนาการของกระเบาใหญ่
การแปรรูปกระเบาใหญ่
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rspg.or.th, www.forest.go.th, www.flickr.com
เมล็ดให้น้ำมันเรียกว่า “น้ำมันกระเบา”
ผลสุกทานได้เนื้อผลคล้ายเผือกต้ม