กล้วยนมสาวเพชรบุรี
ชื่ออื่นๆ : กล้วยนมสาวเพชรบุรี
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : KluaiNom Sao Phetchaburi
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AAB) ‘Nom Sao Phetchaburi’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยนมสาวเพชรบุรี
ต้น ลำต้นเทียมสูงมากกว่า 2.5 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 ซม. กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีประสีดำมาก มีไขเล็กน้อย กาบลำต้นด้านในสีขาวปนชมพู
ใบ ก้านใบมีร่องเล็กน้อยมีครีบสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว

ดอก หรือปลี ก้านดอกไม่มีขน ใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม และม้วนขึ้น ด้านบนสีม่วงเข้มอมเทา มีนวล ด้านล่างสีซีด การเรียงของใบประดับไม่ซ้อนกันมาก
ผล เครือห้อยลง เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวีขึ้นไป หวีหนึ่งมีประมาณ 10-18 ผล ผลมีขนาดใกล้เคียงกับกล้วยน้ำว้า มีจุกยาวและงอนขึ้น ผลสุกมีสีเหลืองอมส้ม เนื้อสีเหลือง อมส้ม

การขยายพันธุ์ของกล้วยนมสาวเพชรบุรี
การแยกหน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยนมสาวเพชรบุรีต้องการ
การปลูกกลางแจ้ง,ร่มรำไร
ประโยชน์ของกล้วยนมสาวเพชรบุรี
- ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้
- ใบตองนำมาห่อขนมของหวานหรือใช้ห่ออาหารทำห่อหมก
- หยวกกล้วยจากต้นกล้วยอ่อนนำมาประกอบอาหาร
- ปลีกล้วยหลังการตัดปลีที่ใช้ทำอาหารได้หลายเมนู และสามารถจำหน่ายเป็นรายได้ส่วนหนึ่งได้
- ก้าน และใบ จากการตัดแต่งใบนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ โค กระบือ
- หน่อ และลำต้น หลังเก็บเกี่ยวหรือการตัดทิ้งนำมาเลี้ยงหมู
- เปลือกกล้วยหรือผลกล้วยเน่า รวมถึงลำต้น ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ
- กาบลำต้น ฉีกเป็นเส้นๆ ใช้สำหรับรัดสิ่งของแทนเชือก
สรรพคุณทางยาของกล้วยนมสาวเพชรบุรี
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยนมสาวเพชรบุรี
การแปรรูปของกล้วยนมสาวเพชรบุรี
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : ร้านเมล็ดพันธุ์ดี เกษตรวิถีไทย (นานาการ์เด้นท์), www.flickr.com