กล้วยนมหมี
ชื่ออื่นๆ : กล้วยนมหมี
ต้นกำเนิด : พบทางภาคใต้ จังหวัดพัทลุง
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (ABB group) “Kluai Nom Mi”
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยนมหมี
ลำต้น ลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเทียมมากกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียว มีประสีดำปานกลาง ตรงโคนมีสีเขียวอมชมพู
ใบ ก้านใบปิดมีร่องแคบมาก มีปีกสีเขียวปนชมพูอ่อน เส้นกลางใบสีเขียว
ปลี หรือดอก ก้านดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างป้อม ปลายแหลม และม้วนขึ้น ด้านบนสีม่วงแดง มีนวลมาก ด้านล่างสีแดงเข้ม การเรียงของใบประดับซ้อนกันลึก
ผล เครือห้อยลง เครือหนึ่งมีประมาณ 7-8 หวีขึ้นไป หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยหักมุก มีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร มีเหลี่ยม มีจุกใหญ่และมีก้านเกสรติด ผลสีเขียวแตกลายงาทั้งทางยาวและขวาง เมื่อสุกมีสีเขียวอมเหลือง มีรสหวาน ไม่มีเมล็ด



การขยายพันธุ์ของกล้วยนมหมี
การใช้หน่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยนมหมีต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยนมหมี
รับประทานผล
สรรพคุณทางยาของกล้วยนมหมี
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยนมหมี
การแปรรูปของกล้วยนมหมี
ผลดิบแก่จัดทำกล้วยกรอบ รสชาติใกล้เคียงมันฝรั่ง ผลสุกเชื่อมน้ำตาลทรายจะได้กล้วยเชื่อมสีใสและเงากว่ากล้วยน้ำว้า
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.bedo.or.th, https://acc.kpru.ac.th
ภาพประกอบ : www.qsbg.org, รวบรวมสายพันธุ์กล้วย
4 Comments