กล้วยไข่สวนผึ้ง
ชื่ออื่นๆ : กล้วยไข่สวนผึ้ง
ต้นกำเนิด : พบมากในจังหวัดราชบุรี
ชื่อสามัญ : Kluai Khai Suan Phueng
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa (AA) ‘Khai Suan Phueng’
ชื่อวงศ์ : MUSACEAE
ลักษณะของกล้วยไข่สวนผึ้ง
ต้น ลำต้นสูง 2. 5 – 3 เมตรมีลักษณะคล้ายกล้วยไข่กำแพงเพชร แต่ต้นใหญ่กว่า กาบของลำต้นที่อยู่ด้านนอกนั้น เป็นสีเขียวปนเหลือง ด้านในเป็นสีชมพูอมแดง
ใบ ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านมีครีบสีชมพู
ดอก มีร่องกว้างดอกของต้นกล้วยไข่นั้นก็จะมีลักษณะเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ม้วนงอขึ้นปลายแหลม ก้านช่อดอกนั้นจะมีขนอ่อน
ผล เครือหนึ่งมี 6 – 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก ก้านผลสั้น เปลือกผลบางเมื่อสุก มีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ประปราย เนื้อสีครีม อมส้ม รสหวาน


การขยายพันธุ์ของกล้วยไข่สวนผึ้ง
การแยกหน่อ
การปลูก ขุดหลุมขนาด 30x30x30 เซนติเมตร วางหน่อลงปลูกกลางหลุม กลบดินโดยรอบให้แน่น หลังปลูก 1 เดือนให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จากนั้นให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยอินทรีย์ทุก 3 เดือน
หากปลูกกล้วยไข่สวนผึ้งในที่ร้อนแล้ง จะให้ผลผลิตไม่ดี
ธาตุอาหารหลักที่กล้วยไข่สวนผึ้งต้องการ
ประโยชน์ของกล้วยไข่สวนผึ้ง
- ผลดิบแปรรูปได้ คล้ายกล้วยไข่
- ผลสุกรับประทานเป็นผลไม้และแปรรูปเช่นเดียวกัน
สรรพคุณทางยาของกล้วยไข่สวนผึ้ง
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ *สรรพคุณของกล้วย*
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วยไข่สวนผึ้ง
การแปรรูปของกล้วยไข่สวนผึ้ง
ผลดิบแปรรูปได้ คล้ายกล้วยไข่ เช่น กล้วยอบเนย กล้วยฉาบ กล้วยเชื่อม เป็นต้น
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับเรื่องกล้วย การปลูกกล้วย พันธุ์กล้วย เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://rpplant.royalparkrajapruek.org