ขี้เจียก
ชื่ออื่นๆ : ขี้เจียก (อุบลราชธานี) เครือพูทอง, ตำแยดิน
ต้นกำเนิด : พบตามป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้งที่เป็นหินทราย ที่ระดับความสูง 150-650 เมตร
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Argyreia thorelii Gagnep
ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE
ลักษณะของขี้เจียก
ต้น ไม้เถาเลื้อยล้มลุก มีหัวใต้ดิน มีขนยาวสีน้ำตาลทองประปรายตามกิ่ง แผ่นใบทั้งสองด้าน หนาแน่นตามช่อดอก ใบประดับ และกลีบเลี้ยง
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปแถบแกมรูปใบหอก กว้าง 1.2-2.5 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบป้าน แผ่นใบค่อนข้างหนา แผ่นใบด้านล่างมีนวล เส้นแขนงใบข้างละ 7-9 เส้น ก้านใบมีขนหยาบแข็ง ก้านใบยาว 0.7-1 ซม. ดอกช่อ แบบช่อกระจุก ออกสั้นๆที่ซอกใบ
ดอก ดอกย่อย 3-7 ดอก ในแต่ละช่อ ก้านช่อยาว 1-1.5 เซนติเมตร ก้านดอกยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ใบประดับรูปใบหอก ยาว 0.8-1.2 เซนติเมตร ติดทน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอกแกมรูปแถบ ปลายแหลม มีขนหยาบแข็ง ขนาดไม่เท่ากัน กลีบคู่นอกยาว 1.8-2 เซนติเมตร 3 กลีบในสั้นกว่าเล็กน้อย กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอกรูปดอกเข็ม ปลายแหลม แยกเป็น 5 แฉก หลอดกลีบดอกยาว 4-5 เซนติเมตร แฉกกลีบดอกยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ยื่นพ้นเลยปากกลีบดอก ยาว 3.8-4 เซนติเมตร ก้านชูอับเรณูแผ่กว้างด้านโคน มีปุ่มขนาดเล็กกระจาย โคนอับเรณูรูปเงี่ยงลูกศร เรณูเป็นหนามละเอียด จานฐานดอกรูปวงแหวน รังไข่เกลี้ยง มี 2 ช่อง เกสรเพศเมียยาวเท่า ๆ เกสรเพศผู้ ยอดเกสรหยัก 2 พู ออกดอกราวเดือนสิงหาคมถึงกันยายน
ผล ผลสดเมื่อแห้งแตก ทรงกลม มีหลายเมล็ด
การขยายพันธุ์ของขี้เจียก
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ขี้เจียกต้องการ
ประโยชน์ของขี้เจียก
- สรรพคุณสมุนไพร
สรรพคุณของขี้เจียก
- ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไอ รับประทานสด เป็นยาระบาย
คุณค่าทางโภชนาการของขี้เจียก
การแปรรูปขี้เจียก
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รากใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไอ
เปลือผลแห้งแตก มีขนหุ้มอยู่
รากรับประทานสดเป็นยาระบาย