ตะแบก ไม้ต้นผลัดใบ ดอกสีม่วงอมชมพู มีสรรพคุณทางยา

ตะแบก

ชื่ออื่นๆ : กระแบก (ภาคใต้) ตราแบกปรี้ (เขมร) ตะแบกไข่ (ราชบุรี, ตราด) ตะแบกนา (ภาคกลาง) บางอตะมะกอ, บางอยามู (มาเลย์) เปื๋อยด้อง, เปื๋อยนา, เปื๋อยหางค่าง (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Bungor

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia floribunda Jack

ชื่อวงศ์ : Lythraceae

ลักษณะของตะแบก

ต้น : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15-30 เมตร โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกเรียบเป็นมัน สีเทาหรือเทาอ่อน มีรอยแผลเป็นดวงตลอดทั้งต้น

ใบ : ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปใบหอก กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 12-20 เซนติเมตร ปลายมน มีติ่งแหลมเล็กโคนมน ขอบใบม้วนขึ้น ใบอ่อนสีออกแดง

ดอก : สีม่วงอมชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกตูม รูปทรงคล้ายลูกข่าง มีจุกสั้นๆอยู่ที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงมีสันนูนพาดตามยาว กลีบดอก 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้นๆ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-3.6 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ จำนวนมาก

ผล : รูปไข่ กว้าง 0.8-1 เซนติเมตร ยาว 1.3-1.7 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกแตกออกเป็น 6 แฉก ถ้วยกลีบเลี้ยงจะหุ้มโคนของผล เช่นเดียวกับอินทนิลน้ำและอินทนิลบก ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ผลแก่ เป็น สีน้ำตาล แข็ง เมื่อแก่จะแตก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก มีปีก  เมล็ดเป็นสีน้ำตาลเข้ม

ผลตะแบกจะเริ่มแก่ในช่วงประมาณเดือน ตุลาคมถึงเดือนธันวาคม เมล็ดจะร่วงหล่นเมื่อเปลือกผลแตกและอ้า ขอนดอก เป็นเนื้อไม้ที่ได้จากต้นตะแบกหรือต้นพิกุลที่มีราลง เนื้อไม้จะมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้มประขาว มองเห็นเป็นจุด สีขาวกระจายทั่วไป ภายในผุเป็นโพรงเล็ก ๆ และมีกลิ่นหอม รสจืด ขอนดอกอาจจะเนื้อไม้ที่ได้จากต้นตะแบกหรือต้นพิกุล ก็ได้ที่มีอายุมาก ๆ ยอดหักเป็นโพรง มักมีเชื้อราเข้าไปเจริญในเนื้อไม้และไม้ยืนต้นตาย เนื้อไม้จึงเหมือนไม้ผุ

ต้นตะแบก
ต้นตะแบก เปลือกเรียบเป็นมัน สีเทาหรือเทาอ่อน
ดอกตะแบก
ดอกตะแบก สีม่วงอมชมพูและจะเปลี่ยนเป็นสีขาว

การขยายพันธุ์ของตะแบก

การใช้เมล็ด

นิยมปลูกลงในแปลงปลูก เพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก: ดินร่วน อัตรา 1: 2 ผสมดิน ถ้าปลูกบริเวณบ้านหรืออาคาร ควรให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะตะแบกเป็นต้นไม้ที่ทรงพุ่มโต

ธาตุอาหารหลักที่ตะแบกต้องการ

ประโยชน์ของตะแบก

  • พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสระบุรี โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
  • คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นนะแบกไว้ประจำบ้านจะทำให้มีฐานะสูงขึ้น และมีความมั่นคง แข็งแรง เพราะ แบก คือ การแบกไว้ไม่ให้ตกสามารถยกขึ้นไว้ให้สูงไม่ให้ตกต่ำ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นตะแบกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
  • ผล ทำไม้ประดับแห้งได้
  • ทั้งต้น ใช้ในการจัดสวนปลูกเพื่อให้ร่มเงามีดอกสวยงาม
  • เนื้อไม้ สีน้ำตาลถึงน้ำตาลอมเทา เนื้อละเอียด แข็ง แต่ใจกลางมักผุเป็นโพรง ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการรับน้ำหนักมากๆ เช่น เสา กระดานพื้น รอด ตง คาน และทำเครื่องใช้ทางการเกษตร เป็นต้น
ผลตะแบก
ผลตะแบก ผลเป็นรูปยาว มีขนาดเล็ก

สรรพคุณทางยาของตะแบก

  • เปลือก เป็นยาแก้ลงแดง ใช้ปรุงเป็นยาแก้บิด และมูกเลือด
  • ขอนดอก เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงปอด บำรุงตับ บำรุงทารกครรภ์ ใช้เป็นยาแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ใช้เป็นยาแก้ไข้ร้อนเพื่อตรีโทษ แก้เหงื่อ แก้เสมหะ

คุณค่าทางโภชนาการของตะแบก

การแปรรูปของตะแบก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9196&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

6 Comments

Add a Comment