แจง
ชื่ออื่นๆ : ต้นแจง แกง(นครราชสีมา) หรือแก้ง
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maerua siamensis (Kurz) Pax
ชื่อวงศ์ : Asclepiadaceae
ลักษณะของแจง
ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 3-10 เมตร ลำต้นเกลี้ยง เปลือกสีเทาดำ แตกกิ่งแขนงมากมาย
ใบ ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกสลับกัน มีใบย่อย 3-5 ก้าน ใบยาว 1.5-6.5 เซนติเมตร ใบย่อยเกือบไร้ก้าน รูปไข่กลับ ใบ รูปหอกเรียวเล็กลับหรือขอบขนาน สีเขียวเข้มทึบ กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-13 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมน ผิวใบเรียบ ก้านใบย่อยสั้น
ดอก ช่อแบบกระจุกหรือดอกเดี่ยว จะเกิดตามกิ่งและปลายกิ่ง ช่อสั้นๆ ดอกย่อยมีสีเขียวอมขาว ก้านดอกยาว2-6 เซนติเมตร มีใบประดับ รูปริบบิ้น ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบโคนเชื่อมกัน รูปขอบขนานยาว 0.7-1 เซนติเมตร. ปลายกลีบแหลม ผิวกลีบเรียบ ขอบกลีบเป็นขนนิ่ม ไม่มีกลีบดอก ดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร. เกสรเพศผู้ 9-12 อัน ก้านเกสรยาว 10-15 มิลลิเมตร. อับเรณูรูปขอบขนาน ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร. ปลายอับเรณูเป็นติ่ง ก้านชูเกสรเพศเมีย ยาว 1.5-2 เซนติเมตร. รังไข่รูปทรงกระบอก ยาว 1.5-2 มิลลิเมตร.
ผล ออกเดือนมีนาคม – พฤษภาคมทุกปี เป็นผลสด รูปรี หรือทรงกลมเท่าหัวแม่มือ บิดเบี้ยวเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ก้านผลยาว 4.5-7.5 เซนติเมตร. เมื่อผลสุกจะมีสีเหลืองเข้ม ภายในผลจะมีเมล็ดประมาณ 2-3 เมล็ด เมล็ดรูปไต

การขยายพันธุ์ของแจง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่แจงต้องการ
ประโยชน์ของแจง
- ไม้สีขาวอ่อนและล่อนเป็นกาบ นิยมนำเอามาเผ่าถ่าน ใช้ทำถ่านที่มีคุณภาพดี และนำถ่านมาทำดินปืน นอกจากนี้ยังนิยมนำมาทำถ่านอัดในบั้งไฟ
- ใบ สมัยก่อนนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเผาขนสัตว์
- ยอดอ่อนของต้นแจงสามารถนำมาดองก่อนจึงจะรับประทานได้ หรือที่ภาษาอีสานเรียกว่าคั้นส้ม เช่นเดียวกับการกินยอดผักกุ่ม ที่ต้องนำไปดองหรือคั้นส้มก่อนรับประทาน เนื่องจากขณะที่ยังสดๆ “มีสารกลุ่มไซยาไนด์” แต่เมื่อนำไปดองหรือคั้นส้ม สารเหล่านี้จะถูกทำให้สลายตัวไป คนอีสานเชื่อว่าถ้าได้กินคั้นส้มของยอดอ่อนของต้นแจงปีละครั้งจะช่วยให้ไม่เข้าสู่ สภาวะสายตายาว หรือแก่เฒ่าแล้วยังมองเห็นอะไรๆ ได้อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องพึ่งแว่นสายตายาว

สรรพคุณทางยาของแจง
- ราก ปรุงรับประทานเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปัสสาวะพิการ แก้กระษัย ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ นำมาต้มเอาไอน้ำอบแก้บวม เปลือก ราก และใบ ต้มน้ำดื่มแก้ดีซ่าน หน้ามืด ตาฟาง ไข้จับสั่น
- ใบ และยอด ตำใช้สีฟัน แก้แมงกินฟันทำให้ฟันทน และแก้ไข้
- ยอดอ่อน ผสมเกลือ รักษาโรครำมะนาด แก้ปวดฟัน
คุณค่าทางโภชนาการของแจง
การแปรรูปของแจง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10365&SystemType=BEDO
http://www3.rdi.ku.ac.th
https://www.gotoknow.org