ถอบแถบน้ำ เป็นยาระบายแก้พิษตานซาง ขับเสมหะ เป็นยาแก้ไข้

ถอบแถบน้ำ

ชื่ออื่นๆ : แควบทะเล, ถอบแถบทะเล, ผักแถบ (กลาง) ทับแถบ (สมุทรสงคราม) ถั่วน้ำ (นราธิวาส)

ต้นกำเนิด : ขึ้นตามฝั่งแม่น้ำและพื้นที่พรุ ใกล้ทะเล

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Derris trifoliate Lour. ชื่อพ้อง D. uliginosa (Willd.) Benth.

ชื่อวงศ์ : FABACEAE

ลักษณะของถอบแถบน้ำ

ต้น เป็นไม้เถา ลำต้นมักเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ยาว 5-10 เมตร กิ่งเรียวยาว

ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียนก้านใบยาว 10-15 ซม. มีใบย่อย 1-2 คู่ และที่ปลายอีก 1 ใบ ก้านใบย่อยสั้น แผ่นใบย่อยรูปไข่แกมรูปขอบขนานรูปรีแกมรูปขอบขนาน ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับขนาด 1.5-5 x 3-10 ซม. ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้านปลายแหลมถึงเรียวแหลม โคนทู่ ถึงมนกลม เส้นใบ8-10 คู่

ดอก ออกเป็นช่อเดี่ยวตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 5-15 ซม. ดอกมีสีขาวก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อนเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 ซม. ออกดอกระหว่างเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม

ผล เป็นฝัก รูปขอบขนาน ขอบฝักเป็นสันบางแคบ สันฝักด้านบนกว้างกว่าด้านล่างสองเท่า ขนาด 3 x 3.5 ซม. มี 1 เมล็ด เมล็ดรูปไต ยาว 1-1.2 ซม.ถอบแถบน้ำ

ต้นถอบแถบน้ำ
ต้นถอบแถบน้ำ ลำต้นมักเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน

การขยายพันธุ์ของถอบแถบน้ำ

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ถอบแถบน้ำต้องการ

ประโยชน์ของถอบแถบน้ำ

สรรพคุณทางยาของถอบแถบน้ำ

แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ แก้ไข้ ริดสีดวงทวาร เป็นยาระบายแก้พิษตานซาง ขับเสมหะ เป็นยาแก้ไข้

วิธีการปรุงยา :

  • เถา เบื่อเหา เบื่อปลา เบื่อปลิง ยาพอก
  • ต้น ใบและราก   ต้มรับประทาน เป็นยาระบายอ่อน แก้พิษตานซาง แก้พิษตานซางขโมย ถ่ายเสมหะ
  • ทั้ง 5 (ราก, ลำต้น, ใบ, ดอก, ผล)  ตำแล้วคั้นเอาน้ำยาทาถูนวดแก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • ทั้ง 5 ต้มเป็นยาหม้อดื่มแก้ริดสีดวงทวาร
  • ราก ต้มเป็นยาหม้อดื่มแก้ไข้
  • ราก ทุบแช่น้ำฉีดพ่นฆ่าแมลง หรือเบื่อปลาได้
  • ใบ แพะกินแล้วเป็นหมัน
ใบถอบแถบน้ำ
ใบถอบแถบน้ำ ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ปลายแหลมเรียว

คุณค่าทางโภชนาการของถอบแถบน้ำ

การแปรรูปของถอบแถบน้ำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9315&SystemType=BEDO
https:// km.dmcr.go.th

Add a Comment