ถั่วฝักยาว ไม้เถาเลื้อย ใช้ทำอาหารได้หลากหลายเมนู
ชื่ออื่นๆ : ภาคกลางเรียกว่า ถั่วขาว ถั่วนา ถั่วฝักยาว ภาคเหนือเรียกว่า ถั่วดอก ถั่วปี ถั่วหลา
ต้นกำเนิด : ประเทศจีนและอินเดีย
ชื่อสามัญ : Yard long Bean.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะของถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาว ลักษณะเป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนี่ยว คล้ายกับถั่วพู แต่มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ไม่มีมือเกาะ ใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย รูปสามเหลี่ยมยาว 6-10 เซนติเมตร ดอกช่อออกตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว หรือน้ำเงินอ่อน ผลเป็นฝักกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 20-80 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด
การขยายพันธุ์
โดยเมล็ด
ส่วนที่นำมาเป็นยา
ฝักอ่อน ใบ เมล็ด ราก
สารเคมีและสารอาหารสำคัญ
–
สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้
ใบ ใช้ต้มน้ำกินรักษาโรคหนองใน และปัสสาวะเป็นหนอง
ฝัก เปลือกฝักตำพอกบริเวณที่บวม ปวดเอว แผลที่เต้านม และเป็นยาระงับปวด
เมล็ด ใช้ได้ทั้งแห้งและสด ต้มกินน้ำเป็นยาบำรุงม้าม ไต ปัสสาวะกะปริบกะปรอย และตกขาว
ราก นำมาตำพอกหรือบดละเอียด รักษาโรคหนองใน รักษาบิด บำรุงม้าม
การขยายพันธุ์ของถั่วฝักยาว
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ถั่วฝักยาวต้องการ
–
ประโยชน์ของถั่วฝักยาว
ฝักของถั่วฝักยาวใช้รับประทานทั้งดิบและสุก เหมาะที่จะรับประทานเมื่อยังอ่อน
สรรพคุณทางยาของถั่วฝักยาว
ใบถั่วฝักยาว ช่วยแก้โรคปัสสาวะพิการ และแก้โรคหนองใน ให้รสเฝื่อน
เปลือกผักถั่วฝักยาว ช่วยรักษาแผลที่เต้านม ช่วยในการระงับอาการปวด รวมทั้งช่วยแก้อาการปวดเอว และแก้อาการบวมน้ำ ให้รสฝาดหวาน
เมล็ดถั่วฝักยาว ช่วยแก้อาการขัดปัสสาวะ แก้อาการตกขาว รวมทั้งช่วยแก้การอาเจียน แก้โรคบิด ตลอดจนช่วยบำรุงม้ามและไต ให้รสหวานมัน
รากถั่วฝักยาว ช่วยแก้โรคหนองใน แก้โรคบิด ช่วยให้เจริญอาหาร ตลอดจนช่วยบำรุงม้าม และนำมาตำสำหรับพอกฝี ให้รสเฝื่อนมัน
คุณค่าทางโภชนาการของถั่วฝักยาว
- ข้อมูลโภชนาการ ถั่วฝักยาว ปริมาณต่อ 100 g แคลอรี (kcal) 47
- ไขมันทั้งหมด 0.4 g
- ไขมันอิ่มตัว 0.1 g
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.2 g
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0 g
- คอเลสเตอรอล 0 mg
- โซเดียม 4 mg
- โพแทสเซียม 240 mg
- คาร์โบไฮเดรต 8 g
- โปรตีน 2.8 g
- วิตามินเอ 865 IU
- วิตามินซี 18.8 mg
- แคลเซียม 50 mg
- เหล็ก 0.5 mg
- วิตามินดี 0 IU
- วิตามินบี6 0 mg
- วิตามินบี12 0 µg
- แมกนีเซียม 44 mg
การแปรรูปของถั่วฝักยาว
ถั่วฝักยาวสามารถนำมาแปรรูปอาหารได้หลากหลาย เช่น ถั่วฝักยาวผัดพริกแกง เป็นต้น
เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับถั่วฝักยาว
References : www.bedo.or.th
รูปภาพจาก : www.nanagarden.com,
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
10 Comments