สับปะรด บักนัด มะนัด รับประทานหลังมื้ออาหารจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร

สับปะรด

ชื่ออื่นๆ : มะนัด, มะขะนัด, บ่อนัด (ภาคเหนือ) บักนัด,  หมากนัด (อีสาน) ย่านัด, หย่านัด, ย่านนัด, ขนุนทอง, มะลิ (ภาคใต้) สับปะรด (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาใต้

ชื่อสามัญ : สับปะรด Pineapple

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ananas comosus (L.) Merr.

ชื่อวงศ์ : Bromeliaceae

ลักษณะของสับปะรด

ต้น ไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี สูงประมาณ 75 – 100 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นจะแตกออกมาเป็นกอใหญ่ ไม่มีกิ่งก้านใดๆ จะมีเพียงกาบใบที่ห่อหุ้มลำต้นไว้ มีปล้องสั้นๆ ลำต้นแก่ค่อนข้างแข็งแรง และออกหน่อใหม่ด้านข้าง

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงแบบบันไดเวียนอย่างหนาแน่นอยู่ตามลำต้น ไม่มีก้านใบ ลักษณะใบเป็นแผ่นเรียวยาวคล้ายดาบโค้ง เนื้อใบแข็ง ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบมีหนามบ้างเล็กน้อยที่ใกล้กับปลายใบและโคนใบ แผ่นใบเรียบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีขาวนวปนสีน้ำเงิน

ดอก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ที่ยอดโผล่ออกมาจากกลางกอ มีดอกหนาแน่น ก้านช่อใหญ่และยาว แต่ละดอกมีกลีบรองกลีบดอก 3 กลีบ สั้นและฉ่ำน้ำ กลีบดอกมี 3 กลีบ ด้านบนสีฟ้าอมม่วง ด้านล่างสีขาว

ผล เป็นผลที่เกิดจากช่อดอกทั้งช่อเจริญร่วมกัน มีผนังเชื่อมติดกัน ลักษณะผลรูปร่างเกือบกลม รูปไข่ป้อม หรือทรงกระบอก โคนกว้างกว่าปลาย มีใบเป็นกระจุกที่ปลายของผล ออกผลตลอดทั้งปี ช่วงที่ผลผลิตจะออกมากที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม

สับปะรดแบ่งออกตามลักษณะความเป็นอยู่ได้ 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ พวกที่มีระบบรากหาอาหารอยู่ในดิน หรือ เรียกว่าไม้ดิน พวกอาศัยอยู่ตามคาคบไม้หรือลำต้นไม้ใหญ่ ได้แก่ ไม้อากาศต่าง ๆ ที่ไม่แย่งอาหารจากต้นไม้ที่มันเกาะอาศัยอยู่ พวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ประดับและพวกที่เจริญเติบโตบนผาหินหรือโขดหิน
ส่วนสับปะรดที่เราใช้บริโภคจัดเป็นไม้ดิน แต่ยังมีลักษณะบางประการของไม้อากาศเอาไว้ คือ สามารถเก็บน้ำไว้ตามซอกใบได้เล็กน้อยมีเซลล์พิเศษสำหรับเก็บน้ำเอาไว้ในใบ ทำให้ทนทานในช่วงแล้งได้

ต้นสับปะรด
เนื้อใบหนา แข็ง มีเส้นใย ท้องใบมีเกล็ดขาว ผลมีใบกระจุกที่ปลาย

การขยายพันธุ์ของสับปะรด

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/การใช้หน่อหรือที่เป็นส่วนยอดของผลที่เรียก ว่า จุก มาฝังกลบดินไว้ สับปะรดชอบขึ้นในดินร่วน,ดินร่วนปนทราย,ดินปนลูกรัง,ดินทรายชายทะเล และชอบที่ลาดเท เช่น ที่ลาดเชิงเขา

ธาตุอาหารหลักที่สับปะรดต้องการ

ประโยชน์ของสับปะรด

สับปะรดสามารถดัดแปลงเป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางเคมี
มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนชื่อบรอมีลิน (Bromelin) ช่วยย่อยโปรตีนไม่ให้ตกค้างในลำไส้ และมีเกลือแร่วิตามินซี จำนวนมาก

สับปะรดสุก
สับปะรด ผลสุกด้านในเนื้อสีเหลือง

สรรพคุณทางยาของสับปะรด

สรรพคุณทางยา

  • ใบสด รสเฝื่อน เป็นยาถ่ายและฆ่าพยาธิในท้อง เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย ทำให้ไตมีสุขภาพดี
  • ผล ผลเปรี้ยวอมหวาน แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แก้ไอ ระงับอาการอักเสบบวมของเนื้อเยื่อ ฟอกโลหิต ย่อยอาหารกระเพาะลำไส้
  • ผลดิบ รสเปรี้ยวอมหวาน เป็นยาระบายอ่อนๆ ใช้ห้ามโลหิต แก้ทางปัสสาวะ ฆ่าพยาธิและขับโลหิตระดู
  • ผลสุก รสเปรี้ยวอมหวาน ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อและบำรุงกำลัง ช่วยย่อยอาหาร แก้หนองใน
  • ไส้กลางสับปะรด แก้ขับเบา
  • เปลือกผล รสเฝื่อนเปรี้ยว แก้กระษัย บำรุงไต ขับปัสสาวะ
  • เหง้าและตะเกียง รสหวานเย็น ต้มดื่มขับปัสสาวะ ขับนิ่ว แก้มุตกิดขาว แก้หนองใน
  • ราก รสเฝื่อน แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ กัดและล้างทางเดินปัสสาวะ แก้ขัดข้อ แก้กระษัย ทำให้ไตสุขภาพดี แก้หนองใน

สรรพคุณทางสมุนไพร
ช่วยบรรเทาอาการแผลเป็นหนอง ช่วยขับปัสสาวะ แก้ร้อนกระสับกระส่าย กระหายน้ำ แก้อาการบวมน้ำ ปัสสาวะไม่ออก บรรเทาอาการโรคบิด ช่วยย่อยอาหารพวกโปรตีน แก้ท้องผูก เป็นยาแก้โรคนิ่ว แก้ส้นเท้าแตก

การรับประทานสับปะรดหลังมื้ออาหารจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร
ซึ่งการรับประทานสับปะรดอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองเล็กน้อยภายในปาก ริมฝีปาก และลิ้นได้ และแม้ว่าในขณะนี้จะยังไม่มีการรายงานความเป็นพิษจากการใช้ในรูปแบบของอาหาร แต่ไม่ควรรับประทานในขณะท้องว่าง เนื่องจากสับปะรดมีความเป็นกรดและมีเอนไซม์บรอมมีเลนหากรับประทานขณะท้องว่างจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้ สำหรับผู้ที่แพ้พืชในตระกูลเดียวกับสับปะรดควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน

ผลสับปะรด
ผลสับปะรด ผลรูปร่างเกือบกลม รูปไข่ป้อม

คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรด

สับปะรด 100 ก. จะให้พลังงานประมาณ 50 กิโลแคลลอรี
สารสำคัญที่พบในสับปะรดคือสารในกลุ่ม phytoestrogens, isoflavones, lignans, phenolics, กรดซิตริก, กรดมาลิก, วิตามินต่างๆ รวมทั้งเอนไซม์ บรอมมีเลน โดยสับปะรดแต่ละสายพันธุ์จะมีปริมาณสารที่มี

การแปรรูปของสับปะรด

การนำสับปะรดมาบริโภคในรูปแบบของผลไม้สดและใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารและขนมต่างๆ แล้ว ยังมีการนำสับปะรดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลายชนิด เช่น สับปะรดกระป๋อง สับปะรดอบแห้ง สับปะรดแช่แข็ง น้ำผลไม้ น้ำส้มสายชู ไวน์สับปะรด อุตสาห์กรรมเบียร์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และการใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับสับปะรดได้เป็นอย่างดี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11559&SystemType=BEDO
http:// pharmacy.su.ac.th
http://www.thaipineapple.org
https://www.flickr.com

6 Comments

Add a Comment