บุหงาเซิง ดอกส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย และหอมมากในช่วงพลบค่ำ ออกดอกตลอดทั้งปี

บุหงาเซิง

ชื่ออื่นๆ : เครือติดต่อ ส่าเหล้า สายหยุด (สุราษฎร์ธานี) สาวสะดุ้ง (ชุมพร) บุหงาแต่งงาน (ภาคกลาง ภาคใต้)

ต้นกำเนิด : ประเทศไทย, ประเทศลาว

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Friesodielsia desmoides (Craib) Steenis.

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะของบุหงาเซิง

ต้น : ไม้พุ่มรอเลื้อยขนาดเล็ก กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบมนและหยักเว้า ปลายใบแหลม เส้นแขนงใบมี 12-16 คู่

บุหงาเซิง
บุหงาเซิง ใบเดี่ยวเรียงสลับ โคนใบมนและหยักเว้า ปลายใบแหลม

ดอก : ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อออกเป็นกระจุก 2 ดอก ออกนอกซอกใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นในรูปไข่ สีส้มหรือส้มแกมน้ำตาล กลีบดอกชั้นนอกรูปขอบขนาน ปลายมนหรือค่อนข้างแหลม สีเหลือง ดอกส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย และหอมมากในช่วงพลบค่ำ หากเก็บดอกไว้ในที่อับอากาศ จะมีกลิ่นหอมรุนแรงมาก ออกดอกตลอดปี

ผล : ผลกลุ่ม ก้านช่อผลยาว 8 มิลลิเมตร ผลย่อย 8-12 ผล ผลย่อยรูปกลมรี ผลแก่สีแดง มี 1–2 เมล็ด

ดอกบุหงาเซิง
ดอกบุหงาเซิง ดอกสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของบุหงาเซิง

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่บุหงาเซิงต้องการ

เป็นพันธุ์ไม้หอมที่ปลูกได้ดีในพื้นที่ร่มรำไรและความชื้นสูง

ประโยชน์ของบุหงาเซิง

ปลูกเป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของบุหงาเซิง

  • ราก แก้เหงือกอักเสบ
  • ลำต้น ผสมรากกล้วยน้ำ รากกล้วยตีบ หัวคล้า และไม้ไผ่สีสุก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ทับระดู
ผลบุหงาเซิง
ผลบุหงาเซิง ผลรูปกลมรี

คุณค่าทางโภชนาการของบุหงาเซิง

การแปรรูปของบุหงาเซิง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9897&SystemType=BEDO
ผลแก่สีแดง มี 1–2 เมล็ด

Add a Comment