กุยช่าย
ชื่ออื่นๆ : ผักไม้กวาด (ภาคกลาง) หอมแป้น (ภาคเหนือ) ผักแป้น (ภาคอีสาน) กูไฉ่(จีน)
ต้นกำเนิด : ประเทศจีน
ชื่อสามัญ : Garlic chives,Oriental garlic,Chinese leek
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium tuberosum Rottl. ex Spreng
ชื่อวงศ์ : Amaryllidaceae
วงศ์ย่อย : ALLIACEAE
ลักษณะของกุยช่าย
ต้น ไม้ล้มลุก มีหัวใต้ดินเล็กและแตกกอ
ใบ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน

ดอก ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมโดยปรกติจะยาวกว่าใบ ดอกสีขาว มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นฉุนแรง ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเท่ากัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย เกสรเพศผู้ 6 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ

ผล ผลกลม ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลแบน ขรุขระ
การขยายพันธุ์ของกุยช่าย
ใชเมล็ด, แยกเหง้า
มีปลูก 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีเขียวที่ปลูกทั่วไป และพันธุ์ใบใหญ่สีขาวซึ่งเกิดจากการบังร่ม
ธาตุอาหารหลักที่กุยช่ายต้องการ
กุยช่ายเป็นพืชที่ชอบน้ำ ให้ระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบแสงแดด ต้องดูแลรดน้ำเสมอ ต้องหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม โดยรดน้ำเช้าเย็น ให้โดนแดดตลอดวัน จะทำให้กุยช่ายโตได้เร็ว ถ้าต้องการกุยช่ายขาว ให้นำภาชนะมาคลุม พลางแสงไว้ ไม่ให้โดนแสงแดด
ประโยชน์ของกุยช่าย
- กุยช่ายเขียวใช้รับประทานเป็นอาหารได้ ดอก ผักกับตับหมู ใบรับประทานสดกับลาบหรือผัดไทยก็ได้ และนอกจากนั้นยังใช้ใบทำเป็นไส้ของขนมกุยช่ายอีกด้วย
- เป็นยาสมุนไพร ใบ มีฟอสฟอรัสสูง เป็นยาแก้หวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ ทาท้องเด็กแก้ท้องอืด บำรุงไต บำรุงกำหนัด จะกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ตำผสมเหล้าเล็กน้อยรับประทานจะช่วยกระจายเลือดไม่ให้คั่ง แก้ช้ำในได้
สรรพคุณทางยาของกุยช่าย
- ช่วยบำรุงน้ำนม
- ช่วยรักษาหนองใน
- ช่วยบำรุงเพศ
- ช่วยบำรุงไต
- ช่วยรักษาลมพิษ
- ช่วยบำรุงกระดูก
- ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
- ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
- ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
- ช่วยรักษาโรควัณโรค
- แก้หวัด
- ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก
- ช่วยรักษาเลือดกำเดาไหล
- แก้อาเจียน
- แก้ท้องเสีย แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ
- ช่วยขับพยาธิ
- ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร
- แก้นิ่ว ช่วยรักษาปัสสาวะขัด
- ช่วยฆ่าเชื้อ
- แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
- ช่วยรักษาแผลหนอง
- ช่วยรักษาฟกช้ำดำเขียว
- แก้ปวด
- แก้แผลอักเสบ
- ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
- ช่วยลดอาการลำไส้อักเสบ
- ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
คุณค่าทางโภชนาการของกุยช่าย
การแปรรูปของกุยช่าย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11278&SystemType=BEDO
www.flickr.com
2 Comments