ผักกาดส้ม
ชื่ออื่นๆ : พะปลอ (แม่ฮ่องสอน)
ต้นกำเนิด : ยุโรป ตอนเหนือของแอฟริกา
ชื่อสามัญ : Curly dock, Yellow dock
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rumex crispus L.
ชื่อพ้อง : Lapathumcrispum (L.) Scop., Rumexodontocarpus Sandor ex Borbás
ชื่อวงศ์ : POLYGONACEAE
ลักษณะของผักกาดส้ม
ต้นผักกาดส้ม พืชล้มลุก อายุหลายปี สูงได้ถึง 150 ซม. ลำต้นสีเขียวอมแดง ผิวเกลี้ยง ค่อนข้างกลม
ใบผักกาดส้ม ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบต้นหรือกิ่ง ใบที่อยู่ด้านล่างมีก้านยาว 10-12 ซม. แผ่นใบรูปหอกแคบถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 10-30 ซม. ปลายใบมนเล็กน้อยหรือแหลม โคนใบสอบแคบ โค้งมนรูปตัดหรือเว้าตื้น ขอบใบเป็นลอนคล้ายลูกคลื่นหรือย่นผิวใบเกลี้ยง เส้นใบข้างค่อนข้างเลือนราง เห็นไม่ชัดเจน ใบที่อยู่ด้านบนไม่มีก้านใบ แผ่นใบมักจะยาวแคบกว่าด้านล่าง

ดอกผักกาดส้ม ออกเป็นช่อกระจะตั้งขึ้นที่ยอดหรือปลายกิ่ง บางครั้งแยกแขนงออกเป็น 2-3 แขนงดอกย่อยสมบูรณ์เพศอยู่เป็นกระจุกรอบแกนดอกชิดกันหนาแน่นตามแกนช่อดอก มีลักษณะคล้ายทรงกระบอกหรือรูปคล้ายกระบอง กลุ่มดอกที่ออกจากง่ามใบล่างลงมามักจะเป็นกระจุกเล็กๆ รูปทรงกลมดอกย่อยสีเขียว มีขนาดเล็ก วงกลีบรวม 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ กลีบวงในขยายใหญ่และหุ้มผลเมื่อติดผล
ผลผักกาดส้ม ผลเป็นประเภทเปลือกแข็ง เมล็ด เดี่ยว ขนาดยาว 2.5-3.0 มม. รูปไข่ ด้านข้างเป็นสันนูนคล้ายปีก 3 สันมีกาบของกลีบหุ้มเป็นสันคล้ายปีก 3 สัน

การขยายพันธุ์ของผักกาดส้ม
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ผักกาดส้มต้องการ
ประโยชน์ของผักกาดส้ม
- ใบ ใช้ใส่แกงเพื่อให้มีรสเปรี้ยว (ใช้แทนมะนาว)
- ใช้ลำต้นและใบ ซึ่งมีรสเปรี้ยวทำเป็นผักดองเค็มกินเป็นกับแกล้มหรือกินกับข้าว
พืชสามารถมีกรดออกซาลิกสูงมาก ทำให้พืชมีรสเปรี้ยว
สรรพคุณของผักกาดส้ม
- ยอดอ่อน อมหรือต้มกับไข่กินแก้ปวดฟัน
- ใช้ราก ห่อผ้าทุบให้แหลกทำเป็นลูกประคบฝี เมื่อฝีแตกจึงใช้รากฝนน้ำทา ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายและแก้หนองใน
- นอกจากใช้ประโยชน์เป็นยาพื้นบ้านแล้ว ในบางแห่งใช้รากของพืชชนิดนี้เป็นสีย้อมผ้าและหนัง
คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดส้ม
–
การแปรรูปผักกาดส้ม
ทำเป็นผักดองเค็ม
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com
ผักกาดส้มนำมาทำผักดองเค็ม รสชาติอร่อยมากๆ