ผักจ้ำ
ชื่ออื่นๆ : ผักจำ ผักจ้ำแดง (เชียงใหม่, เชียงราย) ตีนจำ (เลย), ลังพิสา (ตราด), ทุรังกาสา (ชมพร)
ราม (สงขลา) ปือนา (มลายู-นราธิวาส), พิลังกาสา (ทั่วไป) จิงจ้ำ, จ้ำก้อง, มะจ้ำใหญ่, ตาปลาราม, ตาเป็ด,
ทุกังสา, มาตาอาแย
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : พิลังกาสา หรือผักจ้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia polycephala Wall.
ชื่อวงศ์ : MYRSINACEAE
ลักษณะของผักจ้ำ
ต้น ไม้พุ่มสูงได้ถึง 8 เมตร ปลายกิ่งมีรอยแผลใบชัดเจน ลำต้นแตกแขนงเป็นกลุ่ม
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกสลับกันเป็นคู่ ๆ ตามข้อต้นรูปรีแกมใบมีรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ไม่มีจักร เนื้อใบหนามีสีเขียวเป็นมัน เส้นหลังใบนูนเล็กน้อย ใบอ่อนและก้านใบอ่อนมีสีแดง ก้านใบยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีชมพู แกนช่อดอกยาว 3-10 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก กลีบรองดอก 5 กลีบ ขนาด 4-5 มิลลิเมตร กลีบดอก 5 กลีบ หนาเป็นมัน รูปไข่ปลายแหลม เกสรผู้สีเหลืองเกาะกันอยู่กลางดอก

ผล ผลเป็นผลสด ทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-9 มิลลิเมตร ผิวมีจุดใสๆ ทั่วผล

การขยายพันธุ์ของผักจ้ำ
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ผักจ้ำต้องการ
ประโยชน์ของผักจ้ำ
- ผลอ่อน ใบอ่อน ยอดอ่อนมีรสชาติฝาดมัน เปรี้ยวอมหวาน ใช้รับประทานเป็นผักเหนาะได้ ทางอาหารสำหรับชาวล้านนา นิยมนำผักจ้ำมาเป็นส่วนผสมของอาหารประเภทส้า เช่น ส้าผักรวม ส้าผัก เป็นผักสดจิ้มน้ำพริกหรือลาบ
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
สรรพคุณทางยาของผักจ้ำ
- ใบ แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้ลม
- ดอก ฆ่าเชื้อโรค แก้พยาธิ
- เมล็ด แก้ลมพิษ
- ราก แก้กามโรค และหนองใน พอกปิดแผล ถอนพิษงู
- ต้น แก้โรคผิวหนัง โรคเรื้อน
สารที่พบ : α – amyrin, rapanone ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา – ต้านเชื้อแบคทีเรีย ยับยั้ง platelet activating factor receptor binding
คุณค่าทางโภชนาการของผักจ้ำ
การแปรรูปของผักจ้ำ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11490&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.flickr.com