พริกป่า รากมีสรรพคุณทางยา นำมาต้มดื่ม ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย

พริกป่า

ชื่ออื่นๆ : ช้าฮ่อม (ตาก) พุดน้อย (อุบลราชธานี) พุดป่า (เลย อุบลราชธานี) เข็มดง พริกป่า พริกป่าใหญ่ พริกป่าเล็ก (ชลบุรี) พริกพราน (ประจวบคีรีขันธ์) พริกผี (ยโสธร) พุทธรักษา(อุบลราชธานี) มะลิฝรั่ง (กรุงเทพมหานคร)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : พริกนายพราน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tabernaemontana pauciflora Blume

ชื่อวงศ์ : APOCYNCEAE

ลักษณะของพริกป่า

ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1 เมตร ลำต้น เกลี้ยง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม เนื้อใบบาง แผ่นใบรูปรีแคบแกมรูปไข่ ยาว 8-15 ซม. กว้าง 2-4 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบสั้น ยาวประมาณ 3-7 มิลลิเมตร ช่อดอก แบบช่อกระจุก ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ก้านช่อดอก ยาว 4-7 ซม. ดอกย่อย 3-25 ดอกสีขาวแกมเหลืองอ่อน รูปดอกเข็ม กลีบเลี้ยง สีเขียวอ่อน มี 5 กลีบ ยาวเกือบ 2 มิลลิเมตร รูปสามเหลี่ยม เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ส่วนหลอดยาว 12-17 มิลลิเมตร ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก ยาว 7-9 มิลลิเมตร รูปไข่ เกสรตัวผู้มี 5 อัน ก้านเกสรสั้น อับเรณูรูปขอบขนาน ปลายเป็นติ่งแหลม ท่อเกสรตัวเมียเรียวยาว 7 มิลลิเมตร ปลายเกสรแยกเป็น 2 แฉก รังไข่ 2 ช่อง แยกจากกัน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ผล แบบฝักคู่ โค้ง รูปรีปลายเรียวแหลม คอดเว้าเป็นพูตื้นๆ กว้างประมาณ 7 มิลลิเมตร ยาว 9-10 เซนติเมตร ผลย่อยแตกแนวเดียว ผิวมันสีเขียว ผิวเกลี้ยง มีเมล็ด 6-8 เมล็ด เมล็ดแก่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงสด พบตามป่าดงดิบแล้ง ป่าละเมาะทั่วไป

พริกป่า
พริกป่า ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบเกลี้ยง
ผลพริกป่า
ผลพริกป่า แบบฝักคู่โค้ง รูปรีปลายเรียวแหลม ผิวมันสีเขียว

การขยายพันธุ์ของพริกป่า

ใช้เมล็ด/เกิดง่ายโดยใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่พริกป่าต้องการ

ประโยชน์ของพริกป่า

สรรพคุณทางยาของพริกป่า

ราก ต้มน้ำดื่ม ช่วยสมานแผล แก้ท้องเสีย ต้มน้ำดื่ม แก้ตกขาว แก้ไอ แก้เจ็บคอ ตำละเอียดทาแก้ฝี ฝนน้ำดื่ม แก้ไอเป็นเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของพริกป่า

การแปรรูปของพริกป่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10287&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment