ลูกพลัม หรือ ลูกพรุน เป็นผลไม้ ใช้รับประทานสดและแปรรูปได้

พลัม

ชื่ออื่นๆ : ไหน, ลูกไหน,  พลัม, ลูกพลัม, ลูกพรุน

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : plum

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus domestica L.

ชื่อวงศ์ : Rosaceae

ลักษณะของพลัม

พลัมเป็นไม้ผลที่มีลักษณะทรงต้นค่อนข้างเล็กเช่นเดียวกับพีช ดอกจะออกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากได้รับความหนาวเย็นเพียงพอ ตาดอกที่อยู่บนกิ่ง Spur ซึ่งเป็นกิ่งอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปเหมือนกับบ๊วย แต่พลัมบางพันธุ์มีตาดอกอยู่บนกิ่งอายุ 1 ปี ตาดอก 1 ตามีจำนวน 2-3 ดอก ดอกพลัมมีจำนวนมาก ขนาดเล็กและสีขาวเป็นดอกสมบูรณ์เพศ แต่ปกติผสมตัวเองไม่ติด ต้องผสมข้ามและเฉพาะเจาะจงพันธุ์กันเท่านั้น ผลเป็นประเภท Drupe จึงจัดเป็นพวก Stone fruit คือมีส่วนของ endocarp ที่แข็งเช่นเดียวกับบ๊วยและพีช แต่จะมีความหลากหลายกว่าทั้งขนาดของผล สีของผลและสีเนื้อผล

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีทรงพุ่มขนาดกลาง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะกลมๆ เนื้อแข็งเหนียว มีสีน้ำตาล

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะรูปไข่ ยาวรี ขอบใบหยักรอยเลื่อย มีก้านใบยาว ใบมีสีเขียว

ดอก ออกดอกเป็นช่อ มีดอกย่อย มีลักษณะรูปแตร กลีบดอกมีสีขาว มีเกสรเป็นเส้นยาวสีเหลือง กลีบเลี้ยงสีเขียว มีก้านช่อดอกยาว ดอกออกซอกใบซอกกิ่งและปลายยอด ดอกจะออกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ผล เป็นผลเดี่ยว อยู่เป็นพวง มีลักษณะรูปไข่ ทรงกลมรี ผิวเปลือกเรียบ มีนวลสีขาวทั่วผล มีก้านผลยาว ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกจะมีสีม่วงอมดำ สีแดงเข้ม สีม่วงเข้ม สีเหลือง สีส้ม มีเนื้อสีเหลือง ตามสายพันธุ์ เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีรสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยว ตามสายพันธุ์ มีกลิ่นหอม เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน

เมล็ด มีเมล็ดอยู่ในเนื้อตรงกลางผล มีลักษณะยาวรีๆ เมล็ดแข็ง มีสีน้ำตาล

ต้นพลัม
ไม้ยืนต้น ใบเป็นรูปใบหอก ปลายและโคนใบแหลม

การขยายพันธุ์ของพลัม

การใช้เมล็ดเพาะต้นพันธุ์, ทาบกิ่ง, ติดตา หรือตอนกิ่ง

พลัมพันธุ์ที่ปลูกในประเทศไทยต้องการความหนาวเย็นในการทำลายการพักตัวยาวนานประมาณ 100 – 300 ชั่วโมง โดยพื้นที่ปลูกต้องมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป แต่บางพันธุ์สามารถปลูกได้ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป เช่น พันธุ์จูหลี่ ในการปลูกพลัมรับประทานสด พื้นที่ปลูกต้องสามารถให้น้ำได้ ผลผลิตจึงจะมีคุณภาพดี สำหรับประเภทแปรรูปสามารถปลูกเป็นการค้าได้ดีในพื้นที่แห้งแล้ง และพื้นที่ปลูกไม่ควรมีปัญหาลมแรงเพื่อลดการร่วงของผล

ธาตุอาหารหลักที่พลัมต้องการ

ประโยชน์ของพลัม

พลัมแบ่งตามการใช้ประโยชน์ได้เป็น 2 กลุ่มคือ
พลัมสำหรับรับประทานสด และพลัมสำหรับแปรรูป

โดยพลัมสำหรับรับประทานสดได้แก่ พันธุ์ Gulf Ruby, Gulf Gold, เหลืองบ้านหลวงและแดงบ้านหลวง แต่พันธุ์เหล่านี้ก็สามารถนำไปแปรรูปได้ เช่น ทำแยมพลัมและน้ำพลัม

ส่วนพันธุ์สำหรับแปรรูปได้แก่ พันธุ์จูหลี่ซึ่งนิยมนำไปทำพลัมแช่อิ่ม
ในด้านประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร พลัมเป็นไม้ผลเพื่อสุขภาพชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยกรดซัคซินิค ซิตริก มาลิกและแคทีนิคซึ่งช่วยชะลอความชราและเสริมสร้างกระดูกและฟัน

ลูกพลัม
ผลสุกมีสีม่วงเข้มถึงดำ เนื้อมีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว

สรรพคุณทางยาของพลัม

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต
  • แก้ท้องผูก ช่วยระบบขับถ่าย
  • ช่วยบำรุงกระดูก
  • ช่วยบำรุงฟัน
  • ช่วยบำรุงสายตา
  • ช่วยลดแผลอักเสบ
  • ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
  • ช่วยลดไขมันในเลือด
  • ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • ช่วยบำรุงประสาท
  • ช่วยบำรุงสมอง

คุณค่าทางโภชนาการของพลัม

การแปรรูปของพลัม

การนำมาแปรรูปเป็นผลไม้อบแห้ง เพื่อใช้ทาน หรือใช้ตกแต่หน้าขนม  เค้ก หรือเบเกอรี่ต่างๆ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9900&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment