พุดตานญี่ปุ่น
ชื่ออื่นๆ : ซูลู, พุดตานญี่ปุ่น (กรุงเทพฯ)
ต้นกำเนิด : แอฟริกา
ชื่อสามัญ : Pink Dombeya, Pink wild pear
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dombeya elegans
ชื่อวงศ์ : Sterculiaceae
ลักษณะของพุดตานญี่ปุ่น
ต้น เป็นไม้พุ่ม สูงได้ถึง 4 ม. มีขนยาว ขนกระจุก และขนต่อมทั่วไป หูใบรูปใบหอก ยาว 1–1.5 ซม. ร่วงเร็ว
ใบ ใบรูปไข่กว้าง รูปหัวใจ หรือจัก 3–5 พู ยาวได้ถึง 20 ซม. ปลายแหลมยาว เส้นใบรูปฝ่ามือ 5–9 เส้น ก้านใบยาวได้ถึง 15 ซม.
ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนงคล้ายช่อเชิงหลั่น ก้านช่อยาวเท่า ๆ ก้านใบ ก้านดอกยาวได้ถึง 3 ซม. ใบประดับยาวประมาณ 1 ซม. ร่วงเร็ว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปใบหอก ยาว 1–2 ซม. ดอกสีขาวหรือชมพู มี 5 กลีบ รูปไข่กลับเบี้ยว ยาว 1.5–2.5 ซม. เกสรเพศผู้จำนวนมากเชื่อมติดกันที่โคน เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันรูปแถบ รังไข่มีขนยาว ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรแยกเป็น 5 แฉก
ผล ผลแห้งแตก รูปไข่ แบน ๆ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–1.5 ซม. มีขนยาว เมล็ดผิวเป็นร่างแห


การขยายพันธุ์ของพุดตานญี่ปุ่น
การปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่พุดตานญี่ปุ่นต้องการ
ประโยชน์ของพุดตานญี่ปุ่น
นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ
สรรพคุณทางยาของพุดตานญี่ปุ่น
–
คุณค่าทางโภชนาการของพุดตานญี่ปุ่น
การแปรรูปของพุดตานญี่ปุ่น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://www.dnp.go.th/botany/mindexdictdetail.aspx?runno=4074
https://www.flickr.com