มันสำปะหลัง
ชื่ออื่นๆ : มันสำโรง, มันไม้ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า มันต้นเตี้ย ภาคใต้เรียก มันเทศ (แต่เรียกมันเทศว่า “มันหลา”) คำว่า “สำปะหลัง” ที่นิยมเรียกอาจมาจากคำว่า “ซำเปอ (Sampou)” ของชวาตะวันตก
ต้นกำเนิด : อเมริกาใต้
ชื่อสามัญ : Cassava
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manihot esculenta Crantz.
ชื่อวงศ์ : Euprorbiaceae
ลักษณะของมันสำปะหลัง
มันสำปะหลัง เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นตั้งตรง สูง 1.3–5 เมตร รากแบบสะสมอาหาร (tuberous root) สายพันธุ์ที่นิยมปลูกสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 10–1.5 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อๆ ซึ่งเป็นรอยที่ก้าน ใบร่วงหลุดไป สีของลำต้นส่วนยอดจะเป็นสีเขียว ส่วนทางด้านล่างอาจมีสีน้ำตาลหรือสีม่วงแดงขึ้นอยู่กับพันธุ์ มีรากน้อยและอยู่ไม่ลึกจากผิวดิน มีราก 2 ชนิด คือรากจริงและรากสะสมอาหาร ที่เรียกกันทั่วไปว่า หัว มีปริมาณแป้งประมาณ 5-40 %
มันสำปะหลัง เป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ยอดใบจนถึงราก (หัวมัน) เพื่อการบริโภคเป็นอาหารมนุษย์ และอาหาร สัตว์ รวมถึงใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต่างๆ อีกด้วย
มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
- ชนิดหวาน (Sweet Type) เป็นมันสำปะหลังที่มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคต่ำ ไม่มีรสขมใช้เพื่อการบริโภคของมนุษย์ มีทั้งชนิดเนื้อร่วนนุ่ม และชนิดเนื้อแน่น เหนียว แต่มีจำนวนน้อย
- ชนิดขม (Bitter Type) เป็นมันสำปะหลังที่มีกรดไฮโดรไซยานิคสูง เป็นพิษ และมีรสขม ไม่เหมาะสำหรับ การบริโภคของมนุษย์ หรือใช้หัวมันสำปะหลัง สดเลี้ยงสัตว์โดยตรง แต่จะใช้สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆเช่น แป้งมัน มันอัดเม็ด และแอลกอฮอล์ เป็นต้น เนื่องจากมีปริมาณแป้งสูง มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศ ไทยส่วนใหญ่เป็นชนิดขมสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม
การปลูกมันสำปะหลัง
การเตรียมดิน
- โรยปุ๋ยหมักจุลินทรีย์อีเอ็มโบกาฉิ ในอัตรา 300 กิโลกรัม/ไร่
- ตามด้วยการฉีดพ่นจุลินทรีย์ฮอร์โมนผลไม้ในอัตรา 10 ปี๊บ/ไร่(น้ำหมัก 1 ช้อน + น้ำ 20 ลิตร/ปี๊บ)
- จากนั้นไถกลบหน้าดิน ตากดินไว้เพื่อท้าการหมักอย่างน้อย 15 วัน แล้วจึงยกร่องปลูก
- ยกร่องปลูกสูง 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างร่อง 1 เมตร แหวกกลางร่องออก แล้วหว่านปุ๋ยหมักจุลินทรีย์อีเอ็มโบกาฉิ 700 กิโลกรัม/ไร่ แล้วกลบทับท้าเป็นเนินเพื่อเตรียมปลูกต่อไป
การเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง
- ตัดท่อนพันธุ์มันส้าปะหลังยาวประมาณ 6 ข้อ โดยตัดแบบทางตรงเพื่อให้รากและหัวมันออกเป็นวงกลม360 องศา
- ใช้เชือกมัดท่อนพันธุ์เป็นมัดๆ แล้วน้าไปแช่ในน้ำจุลินทรีย์ฮอร์โมนผลไม้ 1 ช้อน + น้ำ20 ลิตร แช่นาน 15 นาที เพื่อเป็นการเร่งราก
การปลูก
ปลูกท่อนพันธุ์แบบตั้งตรง ให้กดลงลึกประมาณ 3 ข้อ ระยะห่าง 1*1 เมตร
การดูแลรักษา
- มันสำปะหลังอายุ 1 เดือน เริ่มรดบำรุงด้วยจุลินทรีย์ฮอร์โมนผลไม้ 1 ช้อน+น้ำ20 ลิตร ไปเรื่อยๆ จนครบทุกต้น ประมาณ 200 ลิตร/ไร่
- เริ่มดายหญ้าเมื่อมันสำปะหลังมีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ด้วยเคียวเกี่ยวหญ้า แล้วนำหญ้าวัชพืชต่างๆ มาคลุมโคนต้นไว้เพื่อรักษาความชื้น
- ตัดแต่งกิ่งมันส้าปะหลังเมื่อมันอายุ 2 เดือน โดยให้เหลือกิ่งไว้ 2 กิ่งหันไปทางทิศเหนือ–ใต้ ลักษณะคล้ายตัว V เพื่อให้ได้รับแสงแดดเท่ากันทั้ง2 ด้าน
- ดายหญ้าอีกครั้งเมื่อมันอายุ 3–5 เดือน พร้อมตกแต่งกิ่ง
- รดน้ำหมักฮอร์โมนระเบิดหัวมันหรือฮอร์โมนอาหารหลัก 5 หมู่ สูตรเข้มข้นช่วงมันอายุ 3–5 เดือน เพื่อเร่งขยายหัวมันให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด 1 ครั้ง
- สังเกตมันเริ่มออกหัวเมื่ออายุ 3–5 เดือน จะมีรอยแยกของดิน
- หัวมันสำปะหลังเมื่ออายุ 3–5 เดือน จะมีความยาวประมาณ 120 เซนติเมตร
การเก็บเกี่ยวสำปะหลัง
ควรเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังอายุมากกว่า 10–12 เดือน หลังปลูก ไม่ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีฝนชุก เนื่องจากหัวมันสำปะหลังจะมีเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่มีอายุน้อยทำให้มีการสะสมน้ำหนักของมันสำปะหลังต่ำ เป็นผลให้มันสำปะหลังหัวเล็กผลผลิตต่อไร่ต่ำ แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้มันสำปะหลังมีอายุมากกว่า 18 เดือน เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งลดลง
การเก็บรักษาท่อนพันธุ์ไว้ใช้ในฤดูกาลถัดไป
ส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ของมันสำปะหลังคือ ส่วนของลำต้น การเก็บรักษาต้นพันธุ์ ระยะเวลาจำกัด เนื่องจากความสมบูรณ์ ความแข็งแรง และความงอกจะลดลงเรื่อยๆ ควรเก็บจากแปลงขยายท่อนพันธุ์ที่แยกไว้ต่างหากและปฏิบัติดังนี้
- ตัดต้นพันธุ์ที่ไม่ได้ขนาด เป็นโรค มีแมลงทำลายและพันธุ์อื่นที่ปนมาทิ้งก่อน
- เมื่อตัดท่อนพันธุ์แล้วควรรีบนำไปปลูกภายใน 15–30วัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของท่อนพันธุ์ จึงไม่ควรตัดต้นพันธุ์มาเก็บไว้เพื่อรอจ้าหน่าย จ่าย แจก
- วิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์ที่ดีที่สุด คือ การทำแปลงขยายพันธุ์ไว้เฉพาะ ซึ่งจะเก็บเกี่ยวหลังจากเอาต้นพันธุ์ไปปลูกแล้ว หรือในปีถัดไป
- ในฤดูฝน เก็บไว้ในสภาพกลางแจ้งหรือในที่ร่มมีผลไม่แตกต่างกัน
- ในฤดูแล้ง เก็บในที่ร่มจะเก็บไว้ได้นานกว่าเก็บในสภาพกลางแจ้ง
โรคของมันสำปะหลัง
- โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava mosaic disease)
สาเหตุโรคเกิดจาดเชื้อ Cassava mosaic virus เชื้อสาเหตุโรคใบด่างมันส้าปะหลัง ปัจจุบันมีรายงานทั้งหมด 10 ชนิด ในทวีปแอฟริกาพบ 8 ชนิด และทวีปเอเชียพบ 2 ชนิดลักษณะอาการของโรค มันสำปะหลังมีลักษณะอาการใบด่างเหลือง ต้นแคระแกร็นใบเสียรูปทรง ลดรูป ยอดที่แตกใหม่แสดงอาการด่างเหลือง หากใช้ท่อนพันธุ์ที่ติดเชื้อไวรัสมาปลูกจะทำให้เกิดอาการใบด่างเหลืองทั้งต้น ถ้ามันสำปะหลังได้รับการถ่ายทอดโรคจากแมลงหวี่ขาวยาสูบที่มีเชื้อไวรัส จะแสดงอาการใบด่างเหลืองชัดเจนที่ส่วนยอด ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสและพันธุ์พืช
- โรครากหรือหัวเน่า
พบในแหล่งที่ดินระบายน้ำไม่ดี หรือสภาพดินดานและฝนตกชุกเกินไปโรคหัวเน่าเละเกิดจากเชื้อรา ต้นเหี่ยวเฉา ใบล่าง ๆ มีสีเหลืองและเหี่ยวแห้งหลุดร่วงลงมา ส่วนใบยอดมีขนาดเล็ก ต้นแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต เมื่อขุดรากดูพบรากเน่าเละสีน้ำตาล มีกลิ่นเหม็น
โรครากเน่าหรือหัวเน่า ทำให้รากเน่าแห้ง มีกลิ่นเหม็น
โรคหัวเน่าแห้งเกิดจากเชื้อเห็ดรา ที่หัวมันสำปะหลังจะมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม อาจพบบริเวณโคนต้นด้วย เนื้อในหัวจะเน่าแห้งและเส้นใยของเชื้อราจะก่อตัวเป็นดอกเห็ดสีต่าง ๆ ได้ เช่น สีขาว สีเหลือง หรือส้ม นอกจากนี โคนต้นจะบวม เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปและอาจเกิดรากใหม่ตรงบริเวณเนื้อเยื่อที่บวมทำให้เกิดหัวมันสำปะหลังใหม่ขึ้นมา แต่มีขนาดเล็กโรคหัวเน่าดำ เกิดจากเชื้อรา จะมีลักษณะหัวเน่าสีด้าหรือสีน้ำตาลเข้มเนื่องจากเป็นสีที่เกิดจากเส้นใยของเชื้อรา หรือส่วนขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของเชื้อรา
โรคเน่าคอดิน เกิดจากเชื้อรา มักพบอาการในต้นกล้าลักษณะต้นมันสำปะหลังจะเหี่ยวเฉาตายและมีเม็ดผักกาดพร้อมกับเส้นใยสีขาวปกคลุมส่วนของโคนต้นที่ติดอยู่กับผิวดิน
การป้องกัน
1. การเตรียมแปลงปลูกควรไถระเบิดดินดานให้มีการระบายน้ำที่ดี
2. การไถตากดินเป็นเวลานาน ๆ จะช่วยลดประชากรของเชื้อราในดินได้
3. ก้าจัดเศษซากมันสำปะหลังเก่า ๆ จากแปลงเพาะปลูกให้หมด
4. คัดเลือกท่อนพันธุ์สมบูรณ์และปราศจากโรค
5. ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรงปลูกพืชหมุนเวียนอย่างน้อย 6 –12 เดือน - โรคใบไหม้
มีสาเหตุจากบักเตรี ความเสียหาย 30% เมื่อใช้ท่อนพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคมาปลูกและถ้าอุณหภูมิค่อนข้างสูง ความชื้นอาจทำความเสียหายถึง 80 % การแพร่ระบาดที่ส้าคัญคือ ติดไปกับท่อนพันธุ์ โดยฝนหรือดินรวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตรลักษณะอาการ เริ่มแรกแสดงอาการใบจุดเหลี่ยมฉ่ำน้ำใบไหม้ ใบเหี่ยวยางไหลจนถึงอาการยอด เหี่ยวและแห้งตายลงมานอกจากนี้ ยังทำให้ระบบท่อน้ำอาหารของลำต้นและรากเน่า
การป้องกันกำจัด
1. ใช้พันธุ์ต้านทาน หรือพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคปานกลาง
2. ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ หรือหลีกเลี่ยงการใช้ท่อนพันธุ์ส่วนโคนลำต้นหรือโคนกิ่งมันสำปะหลัง
3. ในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรงให้ปลูกพืชหมุนเวียน อายุสั้น เพื่อลดประชากรเชื้อโรคในดิน
4. การใช้สารเคมีเป็นทางเลือกสุดท้ายควรใช้สารเคมีที่มีองค์ประกอบเป็นพวกทองแดง
- โรคแอนแทรคโนส
มีสาเหตุจากเชื้อรา สภาพที่มีความชื้นสูงติดต่อกันมากกว่า 2 สัปดาห์ ในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค ความเสียหาย 80 % ส่วนพันธุ์ที่ค่อนข้างทนทาน ยอดจะเหี่ยวแห้งตายลงมาทำให้เกิดมีการเจริญเติบโตของกิ่งหรือยอดใหม่น้ำหนักผลผลิตจะลดลงหรือเก็บเกี่ยวล่าช้า ผลผลิตจะเสียหาย 30 –40 %
โรคแอนแทรคโนส ใบจะไหม้อบใบขยายตัวเข้าสู้กลางใบ ลักษณะอาการ ใบจะมีขอบใบไหม้สีน้ำตาลขยายตัวเข้าสู่กลางใบ มักปรากฏกับใบที่อยู่ล่าง ในตัวแผลบนใบจะมีเม็ดเล็ก ๆ สีดำขยายตัวไปตามขอบของแผลอาการไหม้ ส่วนก้านใบ อาการจะปรากฏในส่วนโคนก้านใบ จะเป็นแผลสีน้ำตาลขยายตัวไปตามก้านใบท้าให้ก้านใบมีลักษณะลู่ลงมาจากยอดหรือตัวใบจะหักงอจากก้านใบเกิดอาการใบเหี่ยวและแห้งได้ส่วนลำต้นและยอดแผลที่ลำต้นจะเป็นแผลที่ดำตรงบริเวณข้อต่อกับก้านใบและมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมแผลจะขยายตัวไปสู่ส่วนยอดท้าให้ยอดเหี่ยวแห้งลงมา
การป้องกันและกำจัด
1. ใช้พันธุ์ต้านทาน
2. การใช้ท่อนพันธุ์ปลอดโรค
3. ปลูกพืชหมุนเวียน
4. ไถกลบเศษซากมันส้าปะหลังลึก ๆช่วยลดประชากรเชื้อโรคในดินได้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9743&SystemType=BEDO
https://image.mfa.go.th
https://www.flickr.com