วงศ์สมอและสกุลของวงศ์สมอ COMBRETACEAE

ลักษณะประจำวงศ์

วงศ์สมอ COMBRETACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ต้น ไม้พุ่มหรือไม้เลื้อย ใบเดี่ยวเวียนสลับหรือติดตรงข้าม ขอบเรียบ เส้นใบออกจากสองข้างของเส้นกลางใบแบบขนนก ดอก สมมาตรตามรัศมีส่วนมาก สมบูรณ์เพศ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 4 หรือ 5 กลีบ แยกจากกัน เกสรเพศผู้มี จำนวน  2 เท่าของกลีบดอก รังไข่ติดใต้วงกลีบมี  1 ช่อง ไข่อ่อนมี  2 หน่วย ต่อหนึ่งช่อ เมล็ดเดี่ยวแข็ง บางทีมีปีก

ลักษณะเด่นของวงศ์

พืชวงศ์สมอ COMBRETACEAE เป็นใบติดเวียนสลับ มีจุดโปร่งใสเล็ก ๆ มีต่อมที่โคนใบ หรือบนก้านใบ กลีบเลี้ยง เรียงชนกัน กลีบดอกแยกจากกัน เกสรเพศผู้มีจำนวนเป็นสองเท่าของกลีบดอก มีจานฐานดอก  ผลมีปีก หรือมีเนื้อเมล็ดเดียวแข็ง

การกระจายพันธุ์

วงศ์สมอ COMBRETACEAE และสกุลวงศ์สมอ พบในเขตร้อนทั่วไป ในประเทศไทยมี 5 สกุล เช่น

  • สกุล Getonia (เดิม Calycopteris) ไม้เลื้อย ผลที่ปลายมีกลีบเลี้ยงที่ยื่น ยาวออกไป ได้แก่ ติ่งตั่ง Getonia floribunda (Roxb.) Lam.
  • สกุล Combretum ไม้เลื้อย ใบติดตรงข้าม มีเกล็ด ผลมีปีก พบในป่าดิบที่ต่ำ ได้แก่ สะแกนา Combretum quadrangulare Kurz
  • สกุล Lumnitzera ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก พบในป่าชายเลน ได้แก่ ฝาดแดง Lumnitzera littorea (Jack) Voigt ฝาดขาว Lumnitzera racemosa Willd.
  • สกุล Quisqualis ก้านใบกลายเป็นหนาม ได้แก่ เล็บมือนาง Quisqualis indica L.
  • สกุล Terminalia ไม้ต้น แตกกิ่งแบบเจริญด้านข้าง (sympodial) ใบออกเป็นกระจุก ไม่มีกลีบดอก พบในเขตร้อนทั่วไป พบในป่าดิบที่ต่ำ ได้แก่ สมอพิเภก Terminalia bellirica (Gaertn.) Roxb.
ผลสมอพิเภก
ผลสมอพิเภก ผลกลม ปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลหนาแน่น
ดอกเล็บมือนาง
ดอกเล็บมือนาง ดอกสีชมพู หลอดของดอกโค้งเล็กน้อย

ประโยชน์

ไม้ประดับ ได้แก่ สกุล Combretum Quisqualis และ Terminalia ที่ใช้เนื้อไม้ ได้แก่ สกุล Terminalia ผลของสกุล Terminalia กระจายไปโดยน้ำ และค้างคาว

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment