วงเล็บครุฑ ARALIACEAE เป็นวงศ์ของพืชมีดอก

ลักษณะประจำวงศ์

วงเล็บครุฑ ARALIACEAE ลักษณะวงศ์เป็นไม้ล้มลุก ไม้พุ่ม หรือไม้ต้น หูใบมักเป็นลิ้นบางๆ อยู่ที่โคนก้านใบ ใบเดี่ยว ขอบจักคล้ายขนนกหรือใบประกอบแบบนิ้วมือ ติดเวียนสลับ ดอก ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ท่อกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกับรังไข่ ปลายท่อเป็นซี่เล็กๆ กลีบดอกแยกจากกัน หลุดร่วงง่าย มีจานฐานดอกขนาดใหญ่ รังไข่ติดใต้วงกลีบ ผล มีเนื้อหลายเมล็ด หรือเมล็ดแข็งเมล็ดเดียว

เล็บครุฑ
เล็บครุฑฝอย ใบย่อยเรียวยาว ขอบใบหยักลึกหลายหยัก

ลักษณะเด่นของวงศ์

ช่อดอกมักออกเป็นช่อแบบซี่ร่มที่ปลายยอด กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ก้านเกสรเพศเมียมีจำนวนเท่ากับช่องในรังไข่ แยกจากกันหรือเชื่อมติดกันแต่ละช่อมีไข่อ่อน 1 หน่วย

การกระจายพันธุ์

ในเขตอบอุ่นและเขตร้อน ในประเทศไทยมีประมาณ 17 สกุล ส่วนมากอยู่ใน ปาดิบเขาและป่าดิบชื้น เช่น

  • สกุล Aralia ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ก้านเกสรเพศเมียเด่นชัด เช่น คันหามเสือ Aralia montana Blume
  • สกุล Brassaiopsis ใบมีขนาดใหญ่ จักลึกแบบนิ้วมือ เช่น ผักหนามช้าง Brassaiopsis hainla (Buch.-Ham. ex D. Don) Seem.
  • สกุล Eleutherococcus ไม้ต้นกึ่งไม้พุ่ม มีหนาม มี 1 ชนิด คือ ผักแปม Eleutherococcus trifoliatus (L.) S. Y. Hu พบที่ภาคเหนือ
  • สกุล Polyscias ไม้ต้น ไม้พุ่ม ใบประกอบแบบขนนกเป็นพืชมาจากต่างประเทศ (exotic plant) เช่น เล็บครุฑ Polyscias fruticosa (L.) Harms
  • สกุล Schefflera ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้อิงอาศัย ใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบย่อย 5-7 ใบ เนื้อใบหนามัน ปลายใบมนหรือกลม พบในป่าที่ต่ำ และป่าดิบเขาชื้น มีทั้งในแถบเขตร้อนนและเขตอบอุ่น เช่น นิ้วมือพระนารายณ์ Schefflera heptaphylla (L.) Frodin
  • สกุล Trevesia ใบมีขนาดใหญ่ จักลึกแบบนิ้วมือที่โคนแต่ละพูมีเนื้อใบเชื่อมติดกันเป็นพืด เช่น ต้างหลวง Trevesia palmata (Roxb. ex Lindl.) Vis.
ต้างหลวง
ต้างหลวง ใบเว้าแบ่งเป็นพู 5-9 พู คล้ายรูปฝ่ามือ

ประโยชน์พืช

พืชในวงศ์นี้ที่ใบกินได้ได้แก่ พวกเล็บครุฑ Polyscias ที่เป็นไม้ประดับ ได้แก่ Polyscias บางชนิด และ Schefflera ที่เป็นพืชสมุนไพร ได้แก่ พวกโสม Panax (Gins-eng)

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment