วิธีทำน้ำหมักมังคุด ประโยชน์น้ำหมักมังคุด

มังคุด

มังคุด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Garcinia mangostana Linn. มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เกาะซุนดาและหมู่เกาะโมลุกกะ และยังเป็นผลไม้ที่นิยมอย่างมากในแถบเอเชีย โดยได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้” อาจเป็นเพราะลักษณะภายนอกของผลที่มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่หัวขั้วของผลคล้ายมงกุฎของพระราชินี ส่วนเนื้อในก็มีสีขาวสะอาด มีรสชาติที่แสนหวาน และยังเป็นผลไม้ที่จัดว่ามีประโยชน์มากชนิดหนึ่ง นอกจากเนื้อสีขาวที่เรารับประทานกันแล้วยังมีเปลือกของมังคุดที่มีประโยชน์มากเช่นกัน

มังคุด
มังคุด เนื้อผลสีขาว เปลือกหนาผลสีม่วงดำ

นอกจากนี้แล้วในมังคุดยังมี สารแซนโธไนท์ ซึ่งเป็นสารคลือบใบ มีมากในเปลือกมังคุด ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อรา ในพืชทุกชนิด โดยเฉพาะราน้ำค้างในพืชตระกูลเถาต่าง ๆ ได้ดีคุณประโยชน์ของน้ำหมักเปลือกมังคุดอีกอย่างที่ได้ผลดีคือสามารถนำมาใช้แช่เมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนนำไปปลูก โดยแช่ไว้ 1 คืน ก็สามารถกำจัดเชื้อรา ที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวได้อีกด้วยทั้งนี้ยังสามารถแก้โรคในพืชต่างๆ เช่นราสนิม ใบด่าง แก้แคงเกอร์พริกกุ้งแห้ง รากเน่า โคนเน่า

ในวันนี้เกษตรตำบลเราก็มีวิธีการทำน้ำหมักมังคุด ประโยชน์น้ำหมักมังคุด มาฝากกันค่ะ พร้อมแล้วมาดูส่วนผสมและขั้นตอนการทำกันเลย

ส่วนผสม/สิ่งที่ต้องเตรียม

  1. เปลือกมังคุด                  3 กิโล
  2. น้ำตาลทรายแดง         1 กิโล 
  3. จุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือจุลินทรีย์ที่มี       1 ลิตร
  4. น้ำสะอาด             5 ลิตร
  5. ถังสำหรับหมัก ประมาณ             10 ลิตร

วิธีทำน้ำหมักมังคุด

  1. นำเปลือกมังคุดมาตากจนแห้งประมาณ 1-2 แดด แล้วเทใส่ถังหมักเติมน้ำตาลทรายแดงตามลงไป 
  2. เทจุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือจุลินทรีย์ที่มีแล้วตามด้วยน้ำสะอาดเป็นสิ่งสุดท้าย 
  3. คนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย แล้วทำการปิดฝาถังหมักให้แน่นหมักเป็นระยะเวลาประมาณ 30 วัน หมักไว้ในที่ไกลแสงแดด ครบเวลาก็นำมาใช้ได้เลย
ส่วนผสม
ส่วนผสมในการทำน้ำหมักเปลือกมังคุด

อัตราการใช้น้ำหมักเปลือกมังคุด

ผสมน้ำหมักเปลือกมังคุด 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำสะอาด 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 3 วัน/ครั้ง โดยสูตรนี้สามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิด

น้ำหมักเปลือกมังคุด
น้ำหมักที่ได้จากเปลือกมังคุด

เห็นไหมค่ะว่าคุณสมบัติของเปลือกมังคุดที่เหลือหลังจากรับประทานจะสามารถนำมาทำน้ำหมักได้ อย่างไรแล้วอย่าลืมลองนำไปทำตามกันดูนะค่ะ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.opsmoac.go.th, www.flickr.com, Playground KIDS channel

One Comment

Add a Comment