มังคุด
มังคุด “ราชินีผลไม้ ” ชื่ออังกฤษ mangosteen ชื่อวิทยาศาสตร์ Garcinia mangostana Linn. มีถิ่นกำเนิดบริเวณคาบสมุทรมลายู สำหรับประเทศไทยมีการเพาะปลูกกันมากในภาคใต้และภาคตะวันออก ในกรุงเทพมหานครมีวังสวนมังคุด ซึ่งตั้งอยู่บริเวณวังหลัง โรงพยาบาลศิริราช สันนิษฐานว่าเป็นพื้นที่สำหรับปลูกมังคุดเพื่อรับรองคณะทูตที่เดินทางมาจากเมืองอื่น ปัจจุบันถ้าใครเดินทางไปวังหลัง บริเวณทางเดินไปวัดระฆัง ยังพบเห็นกำแพงของวังสวนมังคุดปรากฏอยู่
มังคุดยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นเมนูต่างๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น แกงส้มมังคุด ยำมังคุด และอาหารหวานอย่าง มังคุดลอยแก้ว แยมมังคุด มังคุดกวน มังคุดแช่อิ่ม เป็นต้น
มังคุดเนื้อมีสีขาว เปลือกมีสีม่วงถึงสีดำ แต่ละส่วนของมังคุดมีประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง แล้วเราจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในด้านไหนบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
เนื้อผลมังคุด
มีเส้นกากใยสูงช่วยเรื่องการขับถ่ายและมีวิตามินเกลือแร่สูงมาก เช่น กรดอินทรีย์ น้ำตาลแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก
- ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอยช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสอีก
- ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวออกฤทธิ์ต้านสิวอักเสบได้ดี
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าลดความเครียด
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยคุณสมบัติในการลดและควบคุมระดับน้ำตาลอีกด้วย
เปลือกผลมังคุด
เปลือกมังคุดเอาไปทำอะไรได้บ้าง ในเปลือกของมังคุดมีสารให้รสฝาด คือแทนนิน แซนโทน มีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว ส่วนแมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ดี
- แก้ท้องเสีย โดยใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟฝนกับน้ำปูนใส
- รักษาอาการน้ำกัดเท้า ใช้เปลือกมังคุดแห้งฝนกับน้ำปูนใสใช้รักษาอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย นอกจากนี้เปลือกมังคุดมีสารป้องกันเชื้อราเหมาะแก่การหมักปุ๋ยชาวโอรังอัสลีในรัฐเประ ประเทศมาเลเซีย ใช้เปลือกผลแห้งรักษาแผลเปิด
น้ำมังคุด
น้ำมังคุดช่วยปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุล ด้วยการหลั่งสาร Interleukin Iและ Tumor Necrosis Factor ช่วยยับยั้งการหลั่งสารฮีสตามีนลดอาการแพ้ภูมิตนเอง (ในโรค SLE) และลดการอักเสบ ในผู้ป่วยเบาหวานตับเสื่อม ไตวาย ข้อเข่าเสื่อม ความดันโลหิตสูง โรคพาร์กินสันไทรอยด์เป็นพิษ ความผิดปกติของสมองอันเนื่องจากการอักเสบ
มังคุดป้องกันเชื้อ HIV ได้หรือไม่
มังคุดมีประโยชน์นานัปการ ในส่วนของเชื้อเอชไอวี (HIV) นั้นมังคุดอาจจะไม่ได้ป้องกันเชื้อ HIV แต่ก็ช่วยยับยั้งเชื้อ HIV บางตัว โดยศ.พิชญ์ ศุภผล อาจารย์วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวไว้ว่าเปลือกมังคุดมีคุณสมบัติมากหลายหากนำเปลือกด้านในของมังคุดมาผ่านกรรมวิธีพิเศษทางเคมีจะสามารถสกัดได้สารแซนโทน (Xanthones) ในปริมาณสูงซึ่งสารดังกล่าวมีสรรพคุณทางการแพทย์ที่สำคัญ คือ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ สมานแผล รักษาเซลล์มะเร็งฆ่าเชื้อก่อโรคทางเดินระบบหายใจร้ายแรงได้ และมีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อไวรัส HIV บางตัว
มังคุดกับการรักษาโรคมะเร็ง
มังคุดยังสามารถป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้โดยศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์ จำกัด (มหาชน) และ ม.เชียงใหม่ ได้ค้นพบสูตรสารต้านมะเร็งจากมังคุดทั้งลูก โดยสารสกัดจากมังคุดช่วยสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดทีเอช 1 (Th1) และ ทีเอช 17 (Th17) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยกำจัดและป้องกันการก่อเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้และน้ำมังคุดยังสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดเทร็ก (Treg) ที่ช่วยจัดระเบียบให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันสมดุลขณะที่ผลทดลองกับผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะสุดท้ายพบว่าคนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
นอกจากนี้หัวหน้าทีมวิจัย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตราผู้ก่อตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย กล่าวว่าสารสกัดจากมังคุดสามารถสร้างเม็ดเลือดขาว TH-1 ที่เป็นสารช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายและสามารถป้องกันโรคได้โดยเฉพาะเซลล์มะเร็ง
จากสรรพคุณที่มากมายของมังคุดแล้วก็ย่อมมีโทษเช่นกัน เนื่องจากมีผู้บริโภคบางคนมีอาการผิวหนังบวมแดง เป็นผื่นคันตามตัว ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย จากสารแซนโทน (Xanthone) ที่มีมากในมังคุด ส่วนสารแทนนิน (Tannin) ที่อยู่ในเปลือกของมังคุด อาจทำให้เกิดการเป็นพิษต่อตับหรือไต ก่อให้เกิดมะเร็งในร่องแก้ม ในทางเดินอาหารส่วนบน และยังไปลดจำนวนเม็ดเลือดขาวจนทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจากปกติได้ ดังนั้น เราจึงควรบริโภคมังคุดในปริมาณที่พอเหมาะ เราจึงจะได้รับประโยชน์ที่ไม่เป็นโทษกับร่างกาย
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.stkc.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
มังคุดทำอะไรได้บ้าง เปลือกมังคุด เนื้อมังคุด มีประโยชน์ในด้านใดบ้าง