สะค้านแดง เถาสะค้านมีรสเผ็ดร้อน ภาคเหนือนิยมใช้เถาใส่แกงแค เพราะถือเป็นเครื่องชูรา

สะค้านแดง

ชื่ออื่นๆ : จะค่าน หรือจะค่านจิ้น (พายัพ), สะค้าน หรือสะค้านเนื้อ (ภาคกลาง) ตะค้านเล็ก (ตราด) หรือ ตะค้านหยวก

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : สะค้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper interruptum Opiz (P. ribesoides Wall.)

ชื่อวงศ์ : Piperaceae .

ลักษณะของสะค้านแดง

ต้น  ไม้เถา ขนาดกลาง ลักษณะเถากลมเลื้อย พาดพันต้นไม้อื่น เถาอ่อนสีเขียว เถาแก่สีน้ำตาลเทา เนื้อในเถามีหน้าตัดเป็นเส้นรัศมี สีขาว เปลือกค่อนข้างอ่อน

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะใบรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบคล้ายใบรางจืด ผิวใบเรียบและเป็นมันทั้งสองด้าน ใบมีสีเขียวสด ใบกว้าง 2 นิ้ว ยาวประมาณ 3-5 นิ้ว

ดอก มีขนาดเล็ก ออกเป็นกระจุกตามซอกใบ

ผล ลักษณะกลมติดเป็นพวง 10-15 ผล สีเขียว เมื่อแก่จะมีสีดำและมีเมล็ดด้วย

สะค้าน
สะค้าน เถากลมเลื้อย ใบรูปรีสีเขียวสด

การขยายพันธุ์ของสะค้านแดง

ใช้เมล็ด/การขยายพันธุ์ เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่สะค้านแดงต้องการ

ประโยชน์ของสะค้านแดง

ทางภาคเหนือนิยมใช้เถาใส่แกงแค เพราะถือเป็นเครื่องชูรา โดยลอกเปลือกออกแล้วหั่นแฉลบเป็นแว่นๆ ใส่แกงขนุนอ่อน ส่วนใบอ่อนรับประทานเป็นผักแกล้มกับอาหารประเภทลาบ

สรรพคุณทางยาของสะค้านแดง

ตำราสรรพคุณยาโบราณว่า เถาสะค้านมีรสเผ็ดร้อน แก้ลมอันบังเกิดในกองธาตุ กองสมุฏฐาน ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ทำให้ผายเรอ นอกจากนั้นตำรายังว่าใบสะค้านมีรสเผ็ดร้อน แก้ลมในกองเสมหะและโลหิต ขับลมในลำไส้ แก้ธาตุพิการ แน่น จุกเสียด และรากก็มีรสเผ็ดร้อน แก้ไข้ แก้หืด แก้จุกเสียด บำรุงธาตุ

คุณค่าทางโภชนาการของสะค้านแดง

การแปรรูปของสะค้านแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10731&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment