สะเดาดิน ผักขี้ก๋วง เป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ

สะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง

ชื่ออื่นๆ : ผักขี้ขวง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) สะเดาดิน, ผักขวง (ภาคกลาง), ขี้ก๋วง

ต้นกำเนิด : –

ชื่อสามัญ : สะเดาดิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glinus oppositifolius (L.) A.DC.

ชื่อวงศ์ : Molluginaceae

ลักษณะของสะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบสั้น

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวรวมกันอยู่ตามข้อของลำต้นใกล้ ๆ กับใบ ในข้อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 4-6 ดอก ดอกเป็นสีขาวอมเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวกว่ากลีบดอก โดยจะมีความยาวประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร

ผล ผลเป็นรูปยาวรี มีขนาดยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 3 แฉก ทำให้เห็นเมล็ดที่อยู่ภายในผลได้ชัดเจน เมล็ดมีจำนวนมาก สีน้ำตาลแดง มีขนาดเท่ากับเม็ดทราย

ต้นผักขวง
ต้นผักขวง ลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน

การขยายพันธุ์ของสะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง

ใช้เมล็ด/พบขึ้นบริเวณชื้นแฉะ ในไร่นา และตามสนามหญ้าโดยทั่วไป ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่สะเดาดิน,ผักขี้ก๋วงต้องการ

ประโยชน์ของสะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง

ผักขวงเป็นผักที่มีรสขมคล้ายสะเดา บางแห่งจึงเรียกผักชนิดนี้ว่า “สะเดาดิน” โดยชาวบ้านตามชนบทจะใช้ผักขวงเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกและรับประทานร่วมกับลาบ บ้างนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริกหรือนำมาแกงรวมกับผักอื่น ๆ แกงแค แกงเมือง หรือแกงกับปลาทูนึ่งรับประทาน

ดอกผักขวง
ดอกผักขวง ดอกเป็นสีขาวอมเขียว

สรรพคุณทางยาของสะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง

  1. ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงเป็นยาบำรุงธาตุ (ทั้งต้น)
  2. ต้นสดนำมาตำผสมกับขิงใช้เป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก (ทั้งต้น)
  3. ผักขวงทั้งต้นมีรสขมเย็น ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ทั้งปวง (ทั้งต้น)
  4. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ (ทั้งต้น)
  5. ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ระงับความร้อน (ทั้งต้น)
  6. ทั้งต้นใช้ผสมกับน้ำมันละหุ่ง แล้วนำไปอุ่นใช้เป็นยาหยอดหูแก้อาการปวดหู (ทั้งต้น)
  7. ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงทั้งต้นปรุงเป็นยาระบาย (ทั้งต้น)
  8. ผักขวงมีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำดี (ทั้งต้น)
  9. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง หรือเป็นยาฆ่าเชื้อ (ทั้งต้น)
  10. ใช้เป็นยาทาแก้อาการฟกช้ำบวมอักเสบ (ทั้งต้น)
  11. ผักขวงจัดอยู่ในพระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้เพื่อดี (ไข้ที่เกิดจากดีพิการ มีอาการปวดศีรษะ ไข้สูง) อันประกอบไปด้วยตัวยา 7 สิ่ง ได้แก่ ผักขวง, เครือเขาด้วย, รากขี้กา,
  12. ทั้งต้นปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ถ้านำต้นสดมาผสมกับน้ำมันละหุ่งแล้วนำไปอุ่นจะใช้เป็นยาหยอดหูหรือแก้ปวดหูได้ หรือถ้านำต้นสดมาตำผสมกับขิงจะได้เป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก แก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัด แก้ไอได้

คุณค่าทางโภชนาการของสะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง

คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน                           142.3512 kJ (34.0228 kcal)
คาร์โบไฮเดรต                  4.4 g
ใยอาหาร                          1.1 g
ไขมัน                                0.4  g
โปรตีน                              3.2  g
วิตามิน
บีตา-แคโรทีน                   2431  มก.
ไทอามีน (บี 1)                  0.03  มก.
ไรโบเฟลวิน (บี 2)            0.45  มก.
ไนอาซีน (บี 3)                  2.7  มก.
วิตามินซี                           19  มก.
แร่ธาตุ
แคลเซียม                         94  มก.
เหล็ก                                1.8  มก.
ฟอสฟอรัส                           4  มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ                                       90.3 g

การแปรรูปของสะเดาดิน,ผักขี้ก๋วง

นำผักขวงมาทำแกงแบบคนเหนือซึ่งให้รสชาติขมอร่อย โดยใส่มะเขือและปลาแห้ง (กินตอนร้อน ๆ เพราะถ้าหากเย็นแกงจะมีรสขม) หรือนำมาผัด

ผัดผักขวง
ผัดยอดอ่อนผักขวง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12172&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%87
https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1604&code_db=610010&code_type=01
https://www.flickr.com

Add a Comment