สารให้ความหวานแทนน้ำตาล จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตและผู้ต้องการลดน้ำหนัก

การลดหวาน ส่วนใหญ่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตและผู้ต้องการลดน้ำหนัก เนื่องจากต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนในกลุ่มนี้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (sweetener) เป็นสารเคมีซึ่งให้รสหวานใช้แทนน้ำตาล ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ และไม่ให้พลังงาน แต่เป็นสารที่มีคุณค่าทางการแพทย์ นอกจากนั้นยังใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารสำหรับผู้เป็นโรคอ้วน และใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เพื่อลดต้นทุนการผลิต สารให้ความหวานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมี 3 ชนิด ได้แก่

แอสปาแตม (Aspartame)

แอสปาแตม (Aspartame) เป็นน้ำตาลเทียมที่ทำมาจากสารเคมี องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้ยอมรับสารแอสปาแตมเมื่อปี ค.ศ. 1980 และอนุญาตให้ใช้แอสปาแตมผสมในน้ำอัดลมได้ในปี ค.ศ. 1983 แอสปาแตมให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 160 – 220 เท่า มีรสชาติใกล้เคียงกับน้ำตาลทราย ไม่ทำให้เกิดภาวะฟันผุและไม่กระตุ้นให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ผลิตจึงนิยมนำมาใส่ในน้ำอัดลม ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารและยาที่มีแอสปาแตมเป็นส่วนประกอบมากกว่า 6,000 ชนิดทั่วโลก อย่างไรก็ตามเมื่อแอสปาแตมได้รับความร้อนหรือเก็บไว้เป็นเวลานาน อาจส่งผลให้โครงสร้างของแอสปาแตมเปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้แอสปาแตมปรุงอาหารที่ตั้งไฟร้อน ๆ และไม่ควรเก็บไว้นาน

ซูคราโลส (Sucrarose)

คราโลส (Sucrarose) เป็นสารให้ความหวานที่ไม่จัดเป็นสารอาหาร เนื่องจากซูคราโลสไม่สามารถย่อยได้จึงไม่มีการปลดปล่อยพลังงานให้กับร่างกาย ถูกคิดค้นสำเร็จในปี ค.ศ. 1976 และนำมาใช้ครั้งแรกในประเทศแคนาดา นักวิทยาศาสตร์พบว่าซูคราโลสมีความหวานประมาณ 600 เท่าของน้ำตาลทราย และยังเป็นสารให้ความหวานที่มีความปลอดภัยเทียบเท่ากับน้ำตาลธรรมชาติเนื่องจากไม่ทิ้งสารตกค้างในร่างกาย แต่ในกระบวนการผลิตซูคราโลสมีการเพิ่มคลอรีนเข้าไปในโมเลกุลน้ำตาล ซึ่งคลอรีนนี้เองจะทำให้กระเพาะอาหารไวต่อสิ่งกระตุ้นมากขึ้น และอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้

หญ้าหวาน (Stevia)

หญ้าหวาน (Stevia) เป็นสารแทนความหวานที่ดีที่สุดและเป็นธรรมชาติที่สุด มีนำมาใช้เป็นสารทดแทนความหวาน เมื่อปี ค.ศ. 1964 หญ้าหวานให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย 250 – 300 เท่า และสามารถทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียสโดยที่ความหวานไม่สลายตัว มีรายงานเกี่ยวกับหญ้าหวาน อีกว่าเป็นสารทดแทนความหวานที่ปลอดภัยและไม่พบอาการแทรกซ้อน นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยังได้รับรองและอนุญาตให้สกัดสารสตีวิโอไซด์ (stevioside) ซึ่งเป็นสารที่สกัดได้จากหญ้าหวาน มาขึ้นทะเบียนเป็นสารแทนน้ำตาลได้

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลแม้จะดูว่ามีประโยชน์และนำมาใช้แทนที่น้ำตาล สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักได้นั้น แต่หากบริโภคในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายได้ เพราะสารให้ความหวานแทนน้ำตาลบางชนิด ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการเลย โดยเฉพาะผู้บริโภคทั่ว ๆ ไป การใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลจึงไม่ใช่ความจำเป็น แต่เป็นเพียงทางเลือกเท่านั้น

หญ้าหวาน
หญ้าหวาน ให้ความหวานคล้ายคลึงกับน้ำตาลทรายมากและมีความหวานประมาณ 300 เท่าของน้ำตาลซูโครส

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https ://www.nsm.or.th
ภาพประกอบ : https://www.flickr.com

Add a Comment