หญ้าหวาน มีสาร Stevioside ซึ่งเป็นสารให้ความหวานคล้ายคลึงกับน้ำตาลทรายมากและมีความหวานประมาณ 300 เท่าของน้ำตาลซูโครส

หญ้าหวาน

ชื่ออื่นๆ : หญ้าหวาน, สเตเวีย

ต้นกำเนิด : ประเทศบราซิลและปารากวัย

ชื่อสามัญ : Stevia

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stevia rebaudiana Bertoni

ชื่อวงศ์ : Astcraceac

ลักษณะของหญ้าหวาน

ต้น ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นกลมและแข็งเรียวเล็ก สูง 30-90 ซม.

ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปใบหอกกลับหรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย มีรสหวาน

ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด กลีบดอกสีขาว

ผล แห้ง ไม่แตก ภายในมีเมล็ด

ต้นหญ้าหวาน
ต้นหญ้าหวาน ลำต้นกลมและแข็งเรียวเล็ก

หญ้าหวาน เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปีมีลักษณะคล้ายต้นกะเพราหรือต้นแมงลัก มีสาร Stevioside ซึ่งเป็นสารให้ความหวานคล้ายคลึงกับน้ำตาลทรายมากและมีความหวานประมาณ 300 เท่าของน้ำตาลซูโครส นอกจากนี้ยังเป็นสารให้ความหวานที่มีแคลอรี่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับน้ำตาลทรายเนื่องจากไม่ถูกย่อยให้เกิดพลังงานในร่างกายจากคุณสมบัติของสารหวานดังกล่าว ในปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นสารที่ให้ความหวานสำหรับอาหารและเครื่องดื่มบางประเภท โดยใช้แทนน้ำตาลทรายบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งวัตถุประสงค์สำคัญคือลดปริมาณแคลอรี่ในอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน

หญ้าหวาน
หญ้าหวาน ใบรูปหอกกลับ ขอบใบหยักฟันเลื่อย

การขยายพันธุ์ของหญ้าหวาน

การเพาะเมล็ดและปักชำกิ่ง  โดยปลูกหลังการทำนาหรือปลูกแซมเป็นแถวๆ ในสวนผลไม้ เพียงแต่ไปตัดใบและนำไปตากแห้ง การตัดใบไม่ทำให้ต้นตาย กลับงอกใบใหม่เหมือนต้นชา

การปลูกและการดูแลรักษา

  1. การเตรียมแปลงปลูก : ถางพื้นที่ก้าจัดวัชพืช ไถพรวน จากนั้นขึ้นแปลงหรือยกร่อง ขุดดินพูนให้เป็นแปลงสูงจากพื้นดิน ประมาณ 30-50 เซนติเมตร ขนาดกว้าง 1 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่มีอยู่ โดยเว้นระยะห่างระหว่างแปลง 30 –50 ซม. และมีการระบายน้ำดี
  2. การปลูก : นำกิ่งชำ (หรือกล้าที่เพาะด้วยเมล็ด) ซึ่งมีอายุ 30-45วัน ปลูกในแปลงที่ผสมกับปุ๋ยหมักแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
  3. การให้น้ำ : ควรให้น้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง หรืออย่างน้อย สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
  4. การเก็บเกี่ยว : การเก็บเกี่ยวหญ้าหวานครั้งแรก ควรทำหลังการปลูกได้ประมาณ 20-25 วัน หลังจากนั้นให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวได้เรื่อยๆ ประมาณปีละ 6-10 ครั้ง ผลผลิตจะสูงในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม หลังจากนั้นจะเริ่มแก่และออกดอก ในระหว่างนี้หญ้าหวานจะหยุดการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตน้อยลงในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม การเก็บเกี่ยวหญ้าหวานให้เกษตรกรฉีดน้ำล้างฝุ่นออกก่อน จึงค่อยตัดกิ่งและเด็ดใบออก

ข้อควรระวัง : ไม่ควรตัดกิ่งหญ้าหวานก่อนน้ำไปล้างน้ำเพราะความหวานจะละลายไปกับน้ำ ท้าให้คุณภาพต่ำลงไปด้วย

ช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม  หญ้าหวานชอบอากาศค่อนข้างเย็นอุณหภูมิประมาณ 20-26 องศาเซลเซียสและขึ้นได้ดีเมื่อปลูกในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 -700 เมตร

การปลูกหญ้าหวาน
การปลูกหญ้าหวาน ปลูกเป็นแถวตามแปลงหรือยกร่อง

ธาตุอาหารหลักที่หญ้าหวานต้องการ

ประโยชน์ของหญ้าหวาน

ใบ มีสารหวาน ชื่อ stevioside ซึ่งหวานกว่าน้ำตาล 250-300 เท่า ไม่ให้พลังงาน ไม่ทำให้อ้วน เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและไขมันในเลือดสูง แต่ควรมีการศึกษาถึงพิษระยะยาวก่อน

สรรพคุณทางยาของหญ้าหวาน

แพทย์ผู้ใช้หลายคนยอมรับว่าหญ้าหวานช่วยย่อยอาหาร ป้องกันฟันผุและปริทนต์ รักษาบาดแผล มีดัชนีไกลซีมิก เท่ากับศูนย์ ดังนั้นจะไม่มีผลต่อระบบน้ำตาลในเลือด หลังจากบริโภคและยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อหิวาตกโรคและโรคท้องร่วงอื่นๆ และลดคอเลสเตอรอล

สารสำคัญ

ที่ทำให้มีรสหวานในหญ้าหวานเป็นสารประกอบพวกไดเทอร์พีนกลัยโคไซด์ซึ่งมีอยู่หลายชนิดคือ steviol, steviolbioside, stevioside, rebaudioside A-F และdulcoside A โดยพบว่า stevioside เป็นสารที่พบในปริมาณมากที่สุดคือประมาณร้อยละ 2.0 – 7.7 รองลงมาคือ rebaudioside ประมาณร้อยละ 0.8-2.9 ส่วนสารตัวอื่นจะพบในปริมาณน้อยกว่า นอกจากหญ้าหวานจะเป็นสารปรุงรสหวานอาหารและเครื่องดื่มที่มาจากธรรมชาติ มีรสขมเล็กน้อย ไม่ให้พลังงานและไขมัน ไม่เกิดการสะสมในร่างกายผู้บริโภค รวมทั้งไม่เกิดการดูดซึมในระบบการย่อย ทำให้มีผลดีต่อผู้บริโภคที่ต้องการลดน้ำหนักและที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ทนความร้อนได้สูงถึง 200 องสาเซลเซียส ทนต่อภาวะความเป็นกรด-เบส  ในช่วง 3-9 ให้ความหวานคงตัวตลอดกระบวนการผลิต ป้องกันการหมักทำให้ไม่เกิดการเน่าบูด และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยชะลอความแก่แล้ว ยังจัดเป็นโภชนาการบำบัดที่ดี เนื่องจากไม่มีความเป็นพิษทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังต่อสัตว์ทดลอง ไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง รวมทั้งทางระบาดวิทยายังไม่เคยมีรายงานการป่วยหรือปัญหาต่อสุขภาพ ที่เกิดจากการบริโภคหญ้าหวานเป็นประจำแต่อย่างไงในทางตรงกันข้าม

ดอกหญ้าหวาน
ดอกหญ้าหวาน ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ

คุณค่าทางโภชนาการของหญ้าหวาน

การแปรรูปของหญ้าหวาน

  1. ทำการตัดต้นหญ้าหวานเหนือพื้นดินที่มีอายุตั้งแต่ 4-5 เดือนขึ้นไปนำมาชั่งน้ำหนักสดและล้างน้ำให้สะอาดรวมทั้งแยกเศษวัชพืชและเศษใบที่แห้งออก
  2. นำต้นหญ้าหวานมาแยกใบและก้านออกจากกัน (เพราะเวลาอบแห้ง จะแห้งไม่เท่ากัน)
  3. นำหญ้าหวานที่แยกเสร็จไปผึ่งให้แห้งหรือท้าให้เสด็จน้ำ แล้วอบให้แห้งในตู้ที่ควบคุมอุณหภูมิ55-60องศาเซลเซียสใช้ระยะเวลาในการอบ 24 ชั่วโมง
  4. ในการอบแห้งหญ้าหวานต้องคอยกลับหรือสลับชั้นวางเพื่อให้ความร้อนภายในตู้อบกระจายได้อย่างทั่วถึง
  5. ในการอบแห้งหญ้าหวานต้องคอยกลับหรือสลับชั้นวาง เพื่อให้ความร้อนภายในตู้อบกระจายได้อย่างทั่วถึงละเอียดบรรจุลงในซองขนาดเล็กหรือคัดแยกบรรจุใส่ถุงเพื่อจำหน่ายต่อไป

ถึงแม้สารสตีเวียจะไม่ตกค้างในร่างกายก็ตาม การบริโภคใบหญ้าหวานหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นจ้านวนมาก จะเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำตาลกลูโคส และอาจก่อให้เกิดผลเสียกับร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้นควรบริโภคหญ้าหวานในปริมาณที่ร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้นควรบริโภคหญ้าหวานในปริมาณที่เหมาะสมเสมอ สำหรับปริมาณสารปรุงรสหวานในหญ้าหวานที่เหมาะสมในการบริโภคต่อวัน ได้แก่ 4 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักเป็นกิโลกรัมของผู้บริโภค

หญ้าหวานจัดเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกที่ส้าคัญ น่าสนใจและติดตามอีกชนิดหนึ่ง เพราะเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตสารปรุงรสหวานเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่มีปัญหาของโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง ที่นับวันจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังใช้ทดแทนน้้าตาลเทียมในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร และเครื่องดื่มสุขภาพซึ่งขยายตัวเร็วมาก รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และอาหารในต่างประเทศต้องการสารที่สกัดได้จากใบหญ้าหวานเป็นจำนวนมาก

หญ้าหวาน
หญ้าหวาน ให้ความหวานคล้ายคลึงกับน้ำตาลทรายมากและมีความหวานประมาณ 300 เท่าของน้ำตาลซูโครส

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http ://www.doa.go.th
http ://www.qsbg.org
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment